Category: คิด space

  • ฝึกคิดเชิงวิพากษ์ และดีเบต กับค่าย “คิด space รุ่นที่ 1”

    ฝึกคิดเชิงวิพากษ์ และดีเบต กับค่าย “คิด space รุ่นที่ 1”

    ในช่วงเดือน กันยายน ถึง ธันวาคม 2020 ที่ผ่านมา พวกเรา ทีมงาน “คิด space” ได้เปิดตัวโครงการคิดเชิงวิพากษ์ในรูปแบบค่ายฝึกอบรมแบบเต็มกระบวนการให้กับกลุ่มนักศึกษาจากสถาบันระดับอุดมศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้ชื่อโครงการ “คิด Space รุ่น 1” ซึ่งสมาชิกโครงการประกอบด้วย นักศึกษาจากหลากสาขาวิชาและสถาบัน ได้แก่ นิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ศิลปะ การออกแบบ สถาปัตยกรรมศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ และแพทยศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่  แม้สมาชิกรุ่นที่ 1 จะมีความต่างทางด้านพื้นฐานวิชาและองค์ความรู้ แต่สิ่งหนึ่งที่ทุกคนสนใจและต้องการร่วมกัน คือการฝึกฝนและพัฒนาศักยภาพด้านการคิดเชิงวิพากษ์ รวมไปถึงเครื่องมือการจัดการความคิดที่สามารถนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน ก่อนเริ่มจะเริ่ม “คิด”  ก่อนเริ่มค่ายคิด space ครั้งที่ 1 พวกเราได้สำรวจหัวข้อและประเด็นทางสังคมที่คนรุ่นใหม่สนใจ พร้อมไปกับการทำความรู้จักพวกเขา และแนะนำโครงการ ผ่านการสัมภาษณ์กลุ่มกับอาสาสมัครนักศึกษาจากสถาบันระดับอุดมศึกษาต่างๆในเขตจังหวัดเชียงใหม่ ทำให้พวกเราได้เห็นและเรียนรู้ถึงมุมมองเกี่ยวกับประเด็นปัญหาที่ใกล้ตัวตั้งแต่ระดับในครอบครัว ชุมชน รั้วมหาวิทยาลัย ไปจนถึงสังคมประเทศ เช่น ปัญหาการบริหารและจัดการทั่วไปในมหาวิทยาลัย ผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโควิด 19 ที่มีต่อนักศึกษา ครอบครัว และสมาชิกในสังคม ความรุนแรงในครอบครัว เสรีภาพในการแสดงออก และการเมืองไทย เป็นต้น จากการสำรวจหัวข้อและประเด็นทางสังคม สู่การพัฒนาออกมาเป็นหลักสูตรและกิจกรรมโดยทีมงาน กิจกรรมการเรียนรู้ในเวิร์คช็อปนี้ ประกอบด้วย การคิดเชิงวิพากษ์ ข้อถกเถียง…

  • ก้าวใหม่ในการทำงานของ Book Re:public ในปี 2021

    ก้าวใหม่ในการทำงานของ Book Re:public ในปี 2021

    หากใครเป็นแฟนคลับของร้านหนังสืออิสระ Book Re:public คงยังจำกันได้ว่าเราเปิดร้านครั้งแรกเมื่อปี 2011 ที่ สาขาคันคลอง จนย้ายมาที่ สาขาถนนกองบิน 41 (ปี2015 – 2019) และในครั้งที่ 3 ณ เวลานี้ เราได้ย้ายมาอยู่ที่ ซอยวัดอุโมงค์ แม้ขนาดของร้านจะเล็กลงกว่าเมื่อก่อนมาก แต่ไม่ใช่อุปสรรคในการสร้างสรรค์กิจกรรมต่างๆ ของพวกเราในปี 2021 นี้ ย้อนกลับไปในช่วงเวลา 8 ปีก่อนหน้านี้ สังคมเชียงใหม่มีแนวโน้มของการตื่นรู้ในประเด็นทางสังคมที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ  ก้าวแรกของ Book Re:public เราจึงมีความตั้งใจที่จะสร้างพื้นที่แห่งการเรียนรู้ ให้กับคนรุ่นใหม่ในเมืองเล็กๆ แห่งนี้ จากคำถามและข้อจำกัดต่างๆ ของการเข้าถึงความรู้ ข้อมูลที่หลากหลาย และเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ ที่ยังจำกัดอยู่แต่ในพื้นที่การศึกษา และในเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพ จึงเป็นเป้าหมายแรกของเรา ว่าจะทำอย่างไรให้ความรู้เหล่านั้น กระจายมาสู่พื้นที่อื่นๆได้บ้าง จนนำไปสู่การออกแบบพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในรูปแบบของร้านหนังสือ ที่มีพื้นที่สำหรับจัดงานเสวนาวิชาการ ซึ่งได้คัดสรร หมุนเวียนเนื้อหาให้เข้ากับกระแสความสนใจของคนในสังคมในแต่ละช่วงเวลา ด้วยวิทยากร ผู้เชี่ยวชาญเนื้อหาด้านต่างๆ ทั้งการเมือง ,ศิลปะวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์คู่ขนาน ,ความหลากหลายทางเพศ , กลุ่มชาติพันธุ์…

  • Visual Thinking  : ชวนคิด เป็นภาพ

    Visual Thinking : ชวนคิด เป็นภาพ

    โลกในทุกวันนี้ ใช้การสื่อสารด้วยภาพกันมากขึ้น เราจะสังเกตเห็นได้จากกิจกรรมในชีวิตประจำวันของเรานั้นต้องพบเจอการสื่อสารด้วย “ภาพ” อยู่ตลอดเวลา การสื่อสารด้วยภาพจึงเป็นอีกหนึ่งกลวิธีที่ดึงดูดให้ผู้รับสารให้ความสนใจ และ ทำให้การทำความเข้าใจข้อมูลนั้นง่ายขึ้นและรวดเร็วขึ้น เช่น ภาพวาดประกอบ ภาพถ่าย สัญลักษณ์รูปทรงง่ายๆ รอบตัวเรา ซึ่งถือได้ว่า สิ่งที่เราเห็นเป็นภาพ เป็นภาษาในการสื่อสารอีกชุดหนึ่งในเวลานี้ไปแล้ว แล้วเราเคยสงสัยไหม ว่าทำไมเวลาเรามีภาพในหัวที่เราเข้าใจ แล้วเราต้องการจะสื่อสารภาพๆนั้น หรือข้อมูลนั้นๆ ให้คนอื่นเข้าใจ เขาจะเข้าใจตรงกับเราไหม ภาพที่เราคิด จะตรงกับที่เขาคิดด้วยหรือไม่ แล้วถ้าหากความเข้าใจในการสื่อสารคลาดเคลื่อน จะเกิดผลอย่างไร คิด space นอกจากเราเห็นถึงความสำคัญในเรื่อง “การคิดเชิงวิพากษ์” แล้ว ยังมีกระบวนการอื่นๆอีกมากมายที่สามารถประยุกต์ให้เราจะสามารถจัดการระบบความคิดของเรา และภาพในหัวของเรา ให้สามารถสื่อสารกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพได้ หนึ่งในนั้นคือเครื่องมือ “Visual Thinking” กิจกรรมของพวกเราในขั้นตอนแรกเริ่ม เราจะชวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมก้าวออกมาจากความคิดเดิม ที่ว่า” คนที่สามารถเรียนรู้ และทำกระบวนการ visual thinking ได้ดี คือคนที่เรียนศิลปะ หรือเป็นนักออกแบบ” แต่ในความจริงแล้วกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านกระบวนการ “visual thinking” ของเรามีหัวใจหลักคือ การจัดการข้อมูล และความคิด ด้วยการใช้ “ภาพ”…

  • โครงการ “แพร่ handmade” การระดมความคิดกับเมืองแพร่ที่อยากเห็นในอีก 10 ปีข้างหน้า

    โครงการ “แพร่ handmade” การระดมความคิดกับเมืองแพร่ที่อยากเห็นในอีก 10 ปีข้างหน้า

    ชวนพูดคุยถึงอนาคตและการสร้างความเป็นแพร่ที่อยากเห็นด้วยมือเรา ผ่านกระบวนการระดมความคิดด้วยโจทย์ “เราอย่างเห็นเมืองแพร่ในอนาคตอีก 10 ปีข้างหน้าเป็นอย่างไร” กระแสความสนใจของคนรุ่นใหม่ที่อยากกลับมาพัฒนาบ้านเกิดของตัวเอง เป็นสิ่งที่สังคมไทยให้ความสนใจในปัจจุบัน เมื่อความเจริญต่างๆเริ่มกระจายตัวไปสู่จังหวัดเล็กๆ มากขึ้นกว่าในอดีต เทคโนโลยีในยุคโลกาภิวัตน์เริ่มทำให้การใช้ชีวิตนั้นง่ายขึ้น บวกกับการใช้ชีวิตในเมืองหลวงทำให้ผู้คนเหนื่อยล้า สูบพลังสร้างสรรค์ของผู้คนไปในแต่ละวัน ทางเลือกที่จะออกจากเมืองหลวง เพื่อริเริ่มการพัฒนาบ้านเกิดของตนเอง เพื่อให้การใช้ชีวิตเรียบง่ายอย่างยั่งยืนได้ในอนาคต หนึ่งในเป้าหมายของเมืองที่มีศักยภาพในการพัฒนาตัวเองได้อย่างเข้มแข็งได้นั้นคือจังหวัดแพร่ แห่งนี้ แต่ในอีกด้านหนึ่งการกลับมาบ้านเกิดอาจเป็นโจทย์ที่ยาก เพราะเมืองแพร่ยังคงเผชิญปัญหาที่เด็กวัยรุ่นจำนวนไม่น้อย เมื่อถึงวัยที่ก้าวเข้าสู่การเรียนระดับอุดมศึกษา หรือวัยทำงาน มักเลือกที่จะเดินทาง มุ่งสู่เมืองหลวงอย่างกรุงเทพ หรือจังหวัดหัวเมืองอย่างเชียงใหม่ เพื่อเรียนต่อหรือหางานทำ เพราะเมืองแพร่ไม่ได้มีสถานศึกษา หรือมีสาขาอาชีพที่หลากหลายมารองรับความต้องการของคนรุ่นใหม่ จนเกิดเป็นช่องว่างทางเวลาของคนอายุช่วงวัยรุ่นที่หายไปจากบ้านเกิดตัวเอง และไม่ได้เกิดขึ้นเพียงในจังหวัดแพร่แห่งนี้เท่านั้น วัฏจักรการมุ่งสู่เมืองศูนย์กลางความเจริญนี้ยังเกิดขึ้นต่อเนื่องกับจังหวัดอื่นๆเช่นกัน แต่แล้วคำถามยังไม่จบ เมื่อวัยรุ่นที่กลับมาสู่บ้านเกิดในเมืองเล็กๆแห่งนี้ พวกเขาก็ยังไม่เห็นอนาคตการใช้ชีวิตอยู่ด้วยไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ คำถามที่ว่า “กลับมาบ้านแล้วเราจะทำอะไร” หรือ “เมืองแพร่ไม่มีอะไรให้ทำ” “จะเริ่มต้นพัฒนาเมืองแพร่ให้ดีขึ้นด้วยตัวเองอย่างไรได้บ้าง” ยังคงเป็นโจทย์ที่เขายังต้องเผชิญเมื่อกลับมาอยู่ที่นี่ จากคำถามต่างๆ และปัญหาที่เราพบ พวกเราทีม คิด space จึงมีโอกาสร่วมมือกับกลุ่ม “เครือข่ายลูกหลานเมืองแพร่” ซึ่งเป็นกลุ่มที่คนรุ่นใหม่ที่กลับมาอยู่บ้านเกิดรวมตัวกันเพื่อสร้างสรรค์กิจกรรมพัฒนาเมืองแพร่ เพื่อจัดกิจกรรมสำรวจ needs assesment ทัศนคติของคนรุ่นใหม่ ที่อยู่ในจังหวัดแพร่ ว่ามีความต้องการที่จะเห็นเมืองแพร่พัฒนาไปในทิศทางใดบ้าง หรือต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลงเพื่อเกิดสวัสดิการอย่างไรที่จะสนับสนุนการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพในจังหวัดแห่งนี้ จนเกิดเป็นกิจกรรม…

  • ‘Debate’ vs ‘โต้วาที’ แตกต่างกันอย่างไร

    ‘Debate’ vs ‘โต้วาที’ แตกต่างกันอย่างไร

    หลายคนมักจะสงสัย ระหว่าง คำว่า “โต้วาที” ที่เราคุ้นเคย กับคำว่า “Debate” นั้น คือความหมายเดียวกัน และกลวิธีเดียวกันหรือไม่ แล้วทุกวันนี้ “การดีเบต” ต้องมีกระบวนการอย่างไร พวกเรากลุ่ม คิด space เราได้พัฒนาหลักสูตรการคิดเชิงวิพากษ์ขึ้นมาเพื่อกระจายองค์ความรู้นี้เข้าไปสู่ระบบการศึกษา หนึ่งในกระบวนการคิดเชิงวิพากษ์ที่เราใช้ คือการฝึกให้ทุกคน กล้าที่จะพูด กล้าที่ตั้งคำถาม และฝึกการคิดอย่างเป็นระบบ ผ่านการ”ดีเบต” ซึ่งกระบวนการดีเบต ที่เราออกแบบขึ้นมานั้น จะฝึกให้ทุกคนได้มีสิทธิ์ที่จะพูด และเคารพสิทธิ์การพูดของผู้อื่น ด้วยการฟังและการจับประเด็น ดังนั้น การดีเบตจึงอยู่บนพื้นฐานการแสดงความคิดเห็น การนำเสนอ โต้เเถียง และชี้แจงข้อมูลอย่างเป็นเห็นเป็นผล มีหลักฐานและการอ้างอิงที่สามารถตรวจสอบได้ รวมถึงตรรกะการโต้ตอบที่มากกว่าการใช้อารมณ์ ความรู้สึกเป็นที่ตั้งในการแสดงออก โครงสร้างหลักๆที่เราคุ้นเคยในการดีเบต จะมีองค์ประกอบของผู้ดีเบตเป็นสองฝั่ง คือ ฝ่ายนำเสนอ และฝ่ายค้าน ซึ่งทั้งสองฝ่ายย่อมมีสิทธิ์ในการนำเสนอ โต้แย่งอย่างเท่าเทียมกัน ผ่านกติกาและเวลาที่กำหนดในการควบคุม ดังนั้น “ดีเบต” จึงเป็นกระบวนการที่นอกจากจะฝึกไหวพริบการฟัง และการโต้ตอบอย่างเป็นเหตุเป็นผลแล้ว ยังฝึก การทำงานเป็นทีม โครงสร้างการตั้งคำถามเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง การเคารพสิทธิ์ซึ่งกันและกัน ภายใต้กติกาที่ทำให้ทุกฝ่ายเท่าเทียมกัน และต่อสู้กันบนพื้นฐานของเหตุและผลมากกว่าการใช้อารมณ์ เรามักจะเห็นเวทีการถกเถียงที่เรียกว่า…

Design a site like this with WordPress.com
Get started