‘Debate’ vs ‘โต้วาที’ แตกต่างกันอย่างไร


หลายคนมักจะสงสัย ระหว่าง คำว่า “โต้วาที” ที่เราคุ้นเคย กับคำว่า “Debate” นั้น คือความหมายเดียวกัน และกลวิธีเดียวกันหรือไม่ แล้วทุกวันนี้ “การดีเบต” ต้องมีกระบวนการอย่างไร พวกเรากลุ่ม คิด space เราได้พัฒนาหลักสูตรการคิดเชิงวิพากษ์ขึ้นมาเพื่อกระจายองค์ความรู้นี้เข้าไปสู่ระบบการศึกษา หนึ่งในกระบวนการคิดเชิงวิพากษ์ที่เราใช้ คือการฝึกให้ทุกคน กล้าที่จะพูด กล้าที่ตั้งคำถาม และฝึกการคิดอย่างเป็นระบบ ผ่านการ”ดีเบต”

ซึ่งกระบวนการดีเบต ที่เราออกแบบขึ้นมานั้น จะฝึกให้ทุกคนได้มีสิทธิ์ที่จะพูด และเคารพสิทธิ์การพูดของผู้อื่น ด้วยการฟังและการจับประเด็น ดังนั้น การดีเบตจึงอยู่บนพื้นฐานการแสดงความคิดเห็น การนำเสนอ โต้เเถียง และชี้แจงข้อมูลอย่างเป็นเห็นเป็นผล มีหลักฐานและการอ้างอิงที่สามารถตรวจสอบได้ รวมถึงตรรกะการโต้ตอบที่มากกว่าการใช้อารมณ์ ความรู้สึกเป็นที่ตั้งในการแสดงออก

โครงสร้างหลักๆที่เราคุ้นเคยในการดีเบต จะมีองค์ประกอบของผู้ดีเบตเป็นสองฝั่ง คือ ฝ่ายนำเสนอ และฝ่ายค้าน ซึ่งทั้งสองฝ่ายย่อมมีสิทธิ์ในการนำเสนอ โต้แย่งอย่างเท่าเทียมกัน ผ่านกติกาและเวลาที่กำหนดในการควบคุม ดังนั้น “ดีเบต” จึงเป็นกระบวนการที่นอกจากจะฝึกไหวพริบการฟัง และการโต้ตอบอย่างเป็นเหตุเป็นผลแล้ว ยังฝึก การทำงานเป็นทีม โครงสร้างการตั้งคำถามเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง การเคารพสิทธิ์ซึ่งกันและกัน ภายใต้กติกาที่ทำให้ทุกฝ่ายเท่าเทียมกัน และต่อสู้กันบนพื้นฐานของเหตุและผลมากกว่าการใช้อารมณ์

เรามักจะเห็นเวทีการถกเถียงที่เรียกว่า “การโต้วาที” ในสังคมไทยที่เราคุ้นเคย ซึ่งมีลักษณะการแบ่งเป็นสองฝ่ายมีทั้งฝ่ายนำเสนอและฝ่ายค้าน แต่สิ่งที่ทำให้การ “โต้วาที” แตกต่างจาก การดีเบต คือการใช้ “คารมณ์” หรือ “อารมณ์” เข้ามาเป็นส่วนผสมในการถกเถียงข้อมูล ดังนั้นในหลายๆเวทีเรามักจะเห็นการใช้นำเสียง และการดำเสนอข้อมูลเชิงอารมณ์ การใช้กลอนที่กระทบกับอารมณ์ การให้ข้อมูลที่ไม่สามารถตัดสินจากหลักฐาน หรือที่มาที่ไปได้ เพราะด้วยเป้าหมายหลักของการ โต้วาที มักจะต้องการโน้มน้าวอารมณ์คนฟังให้คล้อยตามไว้ก่อน

กลุ่ม คิด space ของเราจึงใช้การดีเบตเพื่อฝึกอบรวมกระบวนการคิดอย่างเข้มข้น ก่อนการเข้าสู่กระบวนการดีเบต ผู้เข้าร่วมจะได้ฝึกการฟังจับประเด็น การตรวจสอบตรรกะวิบัติ การสืบค้นข้อมูล และการฝึกคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล เพื่อเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์และออกแบบการนำเสนอข้อมูลในการถกเถียง รวมทั้งการทำความรู้จักเครื่องมือการดีเบตที่เป็นกติกาสากล ซึ่งเครื่องมือดีเบตนั้น เราออกแบบให้เหมาะกับกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกันออกไป ทั้งการแบ่งตามประเด็นความสนใจ และช่วงอายุของผู้เข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งปลายทางนั้นเครื่องมือการดีเบตนั้นสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง ทั้งการนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน การตัดสินใจโดยการใช้ตรรกะที่มีประสิทธิภาพ เป็นต้น


สนใจร่วมออกแบบหลักสูตรการคิดเชิงวิพากษ์ให้เหมาะกับกลุ่มเป้าหมายของคุณ


Design a site like this with WordPress.com
Get started