Tag: วรรณกรรมแปล

  • ‘รุ่นเราเอาอะไรมาอ่าน’ วงเสวนาที่ชวนคนรุ่นใหม่มาคุยหนังสือ

    ‘รุ่นเราเอาอะไรมาอ่าน’ วงเสวนาที่ชวนคนรุ่นใหม่มาคุยหนังสือ

    ในวันที่ 8 พฤศจิกายน พวกเรา Book Re:public และเพื่อนๆ คนรุ่นใหม่ได้มีโอกาสเดินทางไปจัดงานเสวนาเล็กๆ ที่จังหวัดแพร่ ร่วมกับกลุ่ม ABO+ ในชื่องาน ’รุ่นเราเอาอะไรมาอ่าน’ ชวนตัวแทนคนรุ่นใหม่จากจังหวัดเชียงใหม่ ไปเปิดวง Book talk ขนาดกะทัดรัดในพื้นที่บ้านเก่าที่ถูกนำมารีโนเวทให้กลายเป็นห้องโถงสีขาวสองชั้น สำหรับรองรับกลุ่มคนรุ่นใหม่ในจังหวัดแพร่ให้ได้มีพื้นที่โชว์ศักยภาพ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาเมืองให้เต็มไปด้วยความสร้างสรรค์ทางปัญญา ภายใต้ชื่อ ABO+ Phrae Creative Wisdom Space   โดยมี ‘พรีเมียร์’ นาวินธิติ  ตัวแทนจากกลุ่ม SAAP 24:7 หนึ่งในสมาชิก Humanร้าย 5,  ‘ขวัญ’ ขนิษฐา ตัวแทนกลุ่ม SYNC space หนึ่งในสมาชิก Human ร้าย5  และ ‘เจ๋ง’ สิรศิลป์ ตัวแทนนักศึกษาสาขา Media art and Design มหาลัยเชียงใหม่  ในงานเสวนาจัดขึ้นจาก ความเห็นของ…

  • จิบชา อ่านหนังสือรับมือ 2019

    จิบชา อ่านหนังสือรับมือ 2019

    เสวนาแนะนำหนังสือ : จิบชา อ่านหนังสือรับมือ 2019

  • [Book Re:commendation] ท่งกุลาลุกไหม้

    [Book Re:commendation] ท่งกุลาลุกไหม้

    [Book Re:commendation] ท่งกุลาลุไหม้ ชวนอ่านโดย พีระ ส่องคืนอธรรม

  • [Book Re:commendation] Daisy Miller เดย์ซี มิลเลอร์

    [Book Re:commendation] Daisy Miller เดย์ซี มิลเลอร์ “ผมเกรงว่านิสัยของคุณจะออกไปทางเจ้าชู้”“แน่นอนค่ะ​ ฉันเป็นผู้หญิงเจ้าชู้ที่น่ากลัวที่สุด! แล้วคุณเคยรู้จักผู้หญิง​ดีๆ​ ที่ไม่เจ้าชู้ไหม​ แต่ฉันว่าคุณกำลังตำหนิว่าฉันเป็นผู้หญิงไม่ดี”“คุณเป็นผู้หญิงที่ดีมาก​ แต่ผมอยากให้คุณหยอกเอินกับผมเพียงคนเดียว” เฟรดเดอริก วินเทอร์บอร์น ชายหนุ่มชาวอเมริกันผู้เติบโตและใช้ชีวิตอยู่ในยุโรปเป็นเวลานาน ได้พบกับแอนนี พี. มิลเลอร์ หรือเดย์ซี มิลเลอร์ หญิงสาวเพื่อนร่วมชาติจากเมืองสเกอเนคตาดี รัฐนิวยอร์ค ซึ่งกำลังเดินทางท่องเที่ยวพักผ่อนในยุโรปกับมารดาและน้องชาย ด้วยอุปนิสัยที่ไม่เหมือนหญิงคนใด ทั้งความตรงไปตรงมาและไม่ทำตัวตามธรรมเนียมทำให้เขาหลงเสน่ห์เธอแต่ผู้คนรอบตัวเขาต่างพากันมองว่าเธอไม่ใช่ผู้หญิงที่ดีเพราะเที่ยว “ระริกระรี้” สนิทสนมกับชายหนุ่มทุกคนอย่างง่ายดาย รวมไปถึงพฤติกรรมที่เพิกเฉยต่อธรรมเนียมปฏิบัติของสังคมซึ่งเป็นสิ่งที่ชาวอเมริกันชั้นสูงรับไม่ได้ เฟรดเดอริกต้องเผชิญกับความกดดันจากคติของสังคมความรู้สึกของหัวใจตนเองและตัวตนของเดย์ซี ว่าแท้จริงแล้วเธอคือหญิงสาวใสซื่อ อ่อนเดียงสาและรักอิสระ หรือเป็นหญิงสาวที่จงใจหว่านเสน่ห์และเร่รักกันแน่ ว่ากันว่าการมาเยือนเจนีวาครั้งนี้ของเขาจึงเป็น “การศึกษา” อย่างหนักของเขาในอันที่จะพาตัวเองเข้าถึงบทสรุปของหัวใจตนเองและความรู้สึกนึกคิดของหญิงงามชาวอเมริกันผู้ตกเป็นจำเลยของสังคม–เดย์ซี มิลเลอร์… เดย์ซี มิลเลอร์: การศึกษาสองภาค หรือ Daisy Miller: A Study ผลงานของเฮนรี เจมส์ (Henry James) นักเขียนชายชาวอเมริกันผู้ยิ่งใหญ่ ตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสารสัญชาติอังกฤษในปี ค.ศ. 1878 ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างสูง ต่อมาตีพิมพ์เป็นหนังสือในปี ค.ศ.…

  • [Book Re:commendation] บันทึกในกลักไม้ขีด

    “แบร์ลุสโกนีเกลียดผู้พิพากษาทุกคนและขอให้เราเกลียดตามเขาอีกทั้งยังให้เกลียดคอมมิวนิสต์ทุกคนด้วยแม้ว่าจะต้องมองเห็นคอมมิวนิสต์ในที่ซึ่งไม่มีคอมมิวนิสต์อยู่แล้วก็ตาม” ——————-จากเรื่อง ว่าด้วยความเกลียดและความรัก “ผมเคยเล่าหลายที่แล้วว่าหลังจากเที่ยวชมมหาวิหารในฝรั่งเศสและถ่ายรูปเหมือนคนบ้าในปี 1960ผมเลิกถ่ายรูปได้อย่างไรครั้งนั้นพอเที่ยวเสร็จกลับมาผมพบว่าตัวเองมีภาพถ่ายแสนธรรมดาเป็นชุดๆแต่จำไม่ได้เลยว่าเห็นอะไรมาบ้าง” ——————-จากเรื่อง เค้กสตรอว์เบอร์รีครีมสด “เมื่อก่อนด้านในของกลักไม้ขีดไฟยี่ห้อ Minerva เป็นพื้นที่ว่างทั้งส่วนบนและล่าง เราจะจดอะไรลงไปในนั้นก็ได้ ผมจึงตั้งใจให้บทความเหล่านี้เป็นบันทึกเกร็ดสารพันเรื่องตามแต่ผมจะนึก ทุกเรื่อง (หรือเกือบทุกเรื่อง) ที่รวมอยู่ในหนังสือเล่มนี้น่าจะเป็นการพิเคราะห์เกี่ยวกับปรากฏการณ์ใน ‘สังคมไหล’ (Liquid Society) ด้วยความผิดของกาลเวลามากกว่าของผม เนื้อหาจึงไม่ปะติดปะต่อกันเหมือนที่คนฝรั่งเศสพูดว่า มีตั้งแต่เรื่องไก่ยันเรื่องลา” “บันทึกในกลักไม้ขีด” รวมบทความเล่มสุดท้ายของ อุมแบร์โต เอโคเขียนระหว่างปี 2000-2015 แปลโดย นันธวรรณ์ ชาญประเสริฐสำนักพิมพ์อ่านอิตาลี

  • [Book Re:commendation] เดอะ ไทม์ แมชชีน

    ” …..ความเข้มแข็งคือผลลัพธ์ของความอ่อนแอ ความมั่นคงปลอดภัยก็คือการให้ค่าความสำคัญกับความอ่อนแอ…..”—————บางส่วนจาก เดอะ ไทม์ แมชชีน (The Time Machine) “เดอะ ไทม์ แมชชีน : The Time Machine” ผลงานชิ้นเยี่ยมของ “H.G.Wells” ว่าด้วยเรื่องราวการเดินทางด้วยเครื่องท่องเวลาของตัวเอกไร้ชื่อ ผ่านเรื่องราวที่ชวนระทึกหลายต่อหลายครั้ง จวนเจียนจะเอาตัวไม่รอด พร้อมด้วยประสบการณ์และความรับรู้ที่แปลกใหม่มากมายซึ่งโลกปัจจุบันไม่สามารถเข้าถึงได้ แล้วกลับออกมาเล่าให้เพื่อนฟัง ก่อนที่จะหายตัวไปอีกครั้ง เป็นสูตรสำเร็จที่มีนักเขียนรุ่นต่อมาลอกเลียนหรือประยุกต์กันอย่างแพร่หลาย…….. เดอะ ไทม์ แมชชีน (The Time Machine)โดย H.G. Wells แปลโดย ประสิทธิ์ ตั้งมหาสถิตกุลสำนักพิมพ์สมมติ

  • [Book Re:commendation] ออร์แลนโด: ชีวประวัติ

    “เธอไม่มีความยากลำบากใดๆ ในการรักษาบทบาทต่างๆ เพราะการเปลี่ยนแปลงเพศของเธอนั้นเกิดขึ้นบ่อยครั้งมากเกินกว่าที่ผู้เคยสวมเสื้อผ้าเพียงแบบเดียวจะเข้าใจได้ และไม่มีข้อกังขาใดๆ ด้วยว่าเธอได้เก็บเกี่ยวประโยชน์จากวิธีการนี้เป็นสองเท่า ความสำราญของชีวิตเพื่อขึ้นและประสบการณ์ยิ่งทวีคูณเธอแลกความเย้ายวนของกระโปรงกับความตรงไปตรงมาของกางเกงขี่ม้าและรื่นรมย์กับความรักของทั้งสองเพศอย่างเท่าเทียมกัน….” ออร์แลนโดฯ คือ “ชีวประวัติ” เทียมอันแสนสนุกของบุคคลผู้กลายสภาพไปตามยุคสมัยแห่งประวัติศาสตร์ เป็นอมตะและไม่แก่ชรา ผู้ซึ่งเปลี่ยนเพศและอัตลักษณ์ได้ตามใจต้องการ จากชาย…กลายเป็นหญิง ออร์แลนโดเริ่มต้นชีวิตในฐานะขุนนางหนุ่มนักประพันธ์รูปงามในราชสำนักของสมเด็จพระราชินีอลิซาเบธที่หนึ่งผู้ซึ่งอยู่ในวัยชรา ก่อนที่ในเช้าวันหนึ่งเขาจะตื่นมาพบว่า ตัวเองได้กระโจนข้ามห้วงเวลากว่านับศตวรรษไปสู่ศตวรรษที่ 18 และนอกจากนั้น เขายังกลายเป็นผู้หญิงด้วย……. ออร์แลนโด: ชีวประวัติโดย เวอร์จิเนีย วูล์ฟสำนักพิมพ์ Library House

  • Book Re:commendation] เรื่องฝัน (นิยายภาพและนวนิยายฉบับเต็ม)

    ฟริโดลิน นายแพทย์ใหญ่รวยเสน่ห์ มีชีวิตเพียบพร้อม ทั้งภรรยาผู้เลอโฉม ลูกเล็กน่ารัก และหน้าที่การงานมั่นคงแต่ในคืนแห่งอารมณ์แปรปรวนร้อนรุ่ม เขาต้องผจญภัยไปในด้านมืดของตัวเอง ด้วยความคุกรุ่นจากความหึงหวง ความหยิ่งผยอง ความอยากรู้อยากเห็น แรงปรารถนาราคะ และความบ้าบิ่นไร้สติ ฟริโดลินพาตัวเองไปร่วมงานปาร์ตี้สวมหน้ากากชวนตื่นตาตื่นใจ แต่ไม่นานเขาก็พบว่าทุกอย่างไม่ได้เป็นเช่นที่คิด เขาอาจเป็นต้นเหตุทำให้ชีวิตหญิงสาวนางหนึ่งตกอยู่ในอันตราย การกระทำมากมายของเขาในคืนนั้นสะท้อนความอัปลักษณ์ในจิตใจออกมาอย่างเปิดเปลือย รวมทั้งในความรู้สึกที่เขามีต่ออัลแบร์ทีเน่ภรรยาที่เขาทั้งรักและแค้นอย่างลึกซึ้งพอๆ กัน… “เรื่องฝัน” เป็นนวนิยายขนาดสั้นของนักเขียนชาวออสเตรีย อาทัวร์ ชนิตซ์เลอร์ ผู้ได้ชื่อว่าบุกเบิกวรรณกรรมตะวันตกสมัยใหม่ โดยเฉพาะในแง่การเจาะลึกถึงภาวะทางจิตของตัวละครได้อย่างละเอียดและสะท้อนความซับซ้อนของมุนษย์ได้หมดจดจนน่าสะพรึง เรื่องฝัน เป็นผลงานชั้นเอกของชนิตซ์เลอร์ และเป็นที่ชื่นชมของนักอ่านทั่วโลก โดยผู้กำกับภาพยนตร์ระดับตำนาน สแตนลีย์ คูบริก ได้นำเนื้อหาจาก เรื่องฝัน ไปสร้างเป็นภาพยนตร์เรื่องสุดท้ายของเขา โดยใช้ชื่อว่า “Eyes Wide Shut” เรื่องฝันโดย อาทัวร์ ชนิตซ์เลอร์นิยายภาพโดย ยาค็อบ ฮินริชส์แปลโดย เฟย์ อัศเวศน์สำนักพิมพ์ไต้ฝุ่น

  • [Book Re:commendation] ร้าวรานในวารวัน (The Glass Palace)

    “เชิญพวกท่านแลมองรอบ ๆ เถิด ดูให้เต็มตาว่าพวกเราอยู่กันอย่างไร ถูกแล้วเราที่ครั้งหนึ่งเคยปกครองแผ่นดินที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดในเอเชียและ ตอนนี้กลับตกต่ำถึงเพียงนี้ นี่คือสิ่งที่พวกมันกระทำต่อเรา และเป็นสิ่งที่พวกมันจะกระทำต่อพม่าทั้งมวลเช่นกัน……พวกมันพรากอาณาจักรเราไป สัญญาว่าจะสร้างถนน ทางรถไฟ และท่าเรือ แต่จำคำเราไว้ให้ดี มันจะลงเอยเหมือนเช่นนี้ ในไม่กี่ทศวรรษความมั่นคั่งจะสูญสิ้น ทั้งอัญมณี ทั้งไม้สัก ทั้งน้ำมัน แล้วเมื่อนั้นพวกมันจะละทิ้งไปเช่นกัน….. เราคือพวกแรกที่ถูกจองจำในนามความก้าวหน้าของพวกมัน คนอีกนับล้านย่อมตกต้องตามกัน นี่คือสิ่งที่เราทุกคนล้วนต้องประสบ นี่คือวิถีที่เราทุกคนจะลงเอย ในฐานะเชลยกลางสลัมแหล่งโรคระบาด……” “ร้าวรานในวารวัน (The Glass Palace)” เรื่องราวความร้าวรานจากอดีตที่เป็นมรดกตกทอด จากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง ไม่มีวันจางหายไป ว่าด้วยเรื่องราวของ ราชกุมาร หนุ่มกำพร้าที่ล่องเรือมาไกลจากอินเดียเพื่อมาเริ่มต้นชีวิตใหม่ที่มัณฑะเลย์ และ ดอลลี่ นางกำนัลของพระนางศุภยาลัต ที่ต้องติดตามนายหญิงไปปรนนิบัติรับใช้ ไกลจากบ้านเกิดเมืองนอน ถึงรัตนคีรี จากการอยู่ห่างไกลบ้าน ทำให้ทั้งคู่ไม่ได้รู้สึกว่าตัวเองผูกพันกับบ้านเกิดเมืองนอนแม้แต่น้อย ราชกุมารไม่ได้รู้สึกว่าตัวเองเป็นคนอินเดีย ส่วนดอลลี่ก็ไม่ได้รู้สึกว่าตัวเองเป็นคนพม่า ทั้งสองได้พบรักและใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันในร่างกุ้ง ชีวิตของราชกุมารนับวันจะยิ่งเจริญรุ่งเรืองขึ้นเรื่อยๆ สวนทางกับความเป็นไปในพม่าที่นับวันยิ่งมีแต่ทีจะถดถอยลง….. ชีวิตที่ผ่านบาดแผลจากอดีตของทั้งคู่ เกิดเป็นมรดกแห่งความโทรมนัสที่ส่งผลมายังรุ่นลูกอย่างนีลและดินู ที่ต้องจมอยู่กับอัตลักษณ์ของตนเองที่หายไป และคำถามที่เผชิญในจิตใจว่า รากเหง้าของเราคือใคร และมาจากที่ไหน โดยเฉพาะดินู ผ่านฉากหลังที่เล่าเรื่องราวด้วยหลายเหตุการณ์สำคัญใหญ่ที่มีผลกระทบต่อตัวละครทั้งหมด ทั้งสงครามโลก…

  • [Book Re:commendation]หนังสือ/เมืองเล็ก/ความรัก นักอ่านชาวโบรกเคนวีลแนะนำ

    เมื่อปล่อยให้หนังสือเข้ามาในชีวิต เรื่องเกินคาดสุดขีดอาจเกิดขึ้นได้… ชาวเมืองโบรกเคนวีลในรัฐไอโอวาไม่เคยเจอใครเหมือนซาร่ามาก่อน เธอเดินทางจากสวีเดนมาเยี่ยมเอมี่ เพื่อนทางจดหมาย แต่เมื่อมาถึง กลับพบว่าเอมี่เพิ่งตายไปหมาดๆ ทิ้งไว้เพียงหนังสือนับพันเล่ม กับชาวเมืองผู้มากน้ำใจแต่ไม่รู้ว่าจะให้นักท่องเที่ยวซึ่งเป็นนักอ่านตัวยงทำอะไรในเมืองเล็กที่ร่อแร่ใกล้ร้าง จนกระทั่งความคิดเรื่องการเปิดร้านหนังสือผ่านวาบเข้ามา พบกับหนังสือลำดับที่ 5 ในชุด ‘คนรักหนังสือ’ จาก สำนักพิมพ์กำมะหยี่ “หนังสือ/เมืองเล็ก/ความรัก นักอ่านชาวโบรกเคนวีลแนะนำ” นวนิยายสุดน่ารักที่จะเตือนเราให้อบอุ่นในหัวใจว่า เพราะเหตุใดเราจึงเป็นคนรักหนังสือ เรื่องราวสุดฉลาดแสนน่ารักที่บอกให้เรารู้ว่า หนังสือสามารถหาเราพบ เปลี่ยนแปลงเรา และเชื่อมเราเข้าด้วยกันได้อย่างไร…….. คำเตือน : การอ่านหนังสือพร้อมกับยิ้มน้อยยิ้มใหญ่ อาจทำให้คนรอบข้างหวาดกลัว  LÄSARNA I BROKEN WHEEL REKOMMENDERAR(The Readers of Broken Wheel Recommend)หนังสือ/เมืองเล็ก/ความรัก นักอ่านชาวโบรกเคนวีลแนะนำ โดย Katarina Bivald  แปลโดย มณฑารัตน์ ทรงเผ่า 

Design a site like this with WordPress.com
Get started