Tag: booktalk

  • 3 เล่ม วิพากษ์การศึกษาไทย แกะรอยวัฒนธรรมอำนาจนิยม

    3 เล่ม วิพากษ์การศึกษาไทย แกะรอยวัฒนธรรมอำนาจนิยม

    3 เล่ม วิพากษ์การศึกษาไทย แกะรอยวัฒนธรรมอำนาจนิยมภายใต้บริบทเรื่อง เครื่องแบบ ร่างกาย ระเบียบวินัย และการต่อต้าน ในปี 2020 สังคมไทยมีปรากฎการณ์ #1ธันวาบอกลาเครื่องแบบ ที่เหล่านักเรียน นักศึกษาได้รณรงค์แต่งชุดไปรเวทไปโรงเรียน ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่สร้างการถกเถียงและผลกระทบต่อนักเรียนนักศึกษาบางส่วนจนได้รับบทลงโทษจากกฏระเบียบของสถานศึกษาและผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่นเดียวกันในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาเมื่อกรณี “หยก”แต่งชุดไปรเวทและย้อมผมไปโรงเรียน จึงทำให้ประเด็นเครื่องแบบ ทรงผมของโรงเรียนวนกลับมาเป็นที่ถกเถียงกันอีกครั้ง ด้วยความเข้มข้นของค่านิยมระเบียบวินัยของระบบการศึกษาไทยที่ฝังลึก จึงทำให้ประเด็นนี้ต้องต่อสู้มาอย่างยาวนาน ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่ “หยก” แต่ยังมีแต่ยังมีนักเรียน นักศึกษาและอีกหลายคนที่ยังยืนยันว่าสิ่งนี้คือปมปัญหาใหญ่ที่สังคมไทยต้องยกมาพูดคุยและหาหนทางสร้างการเปลี่ยนแปลง Book Re:public จึงอยากชวนทุกคนทำความเข้าใจอำนาจที่ควบคุมอยู่เบื้องหลังสิ่งที่เรียกว่า “เครื่องแบบ” “ระเบียบวินัย” มีความเป็นมาอย่างไรในประวัติศาสตร์ไทย, การทำงานของเครื่องแบบและกฎเกณฑ์ในสถานศึกษาควบคุมเนื้อตัวร่างกายและความคิดของคนในสังมอย่างฝังลึกยาวนานได้อย่างไร และเรื่องราว ประวัติศาสตร์การต่อสู้ของคนรุ่นใหม่ที่ต้องปะทะกับอำนาจนิยมล้าหลังในสถานศึกษาที่ไม่สอดรับกับสังคมโลกที่หมุนไปข้างหน้าในหนังสือสามเล่มนี้ เลาะตะเข็บอำนาจประวัติศาสตร์การศึกษาไทย :ว่าด้วยความเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างการศึกษาในสังคมไทย จากการรวมศูนย์อำนาจของรัฐ การรัฐประหาร และระบบราชการ ตั้งแต่ พ.ศ.2490-2562 (On Thai-Education) โดย : ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์ เขียน “…ภายใต้ระบบและวัฒนธรรมของราชการที่มีลักษณะปกครองแบบแนวดิ่งเน้นทำตามคำสั่ง ควบคุมและจับผิด ทำให้การควบคุมพฤติกรรมและวินัยของนักเรียนกลายเป็นภารกิจสำคัญของโรงเรียนไปด้วย อาจจะกล่าวได้ว่า การควบคุมเรือนร่างนักเรียนผ่านเครื่องแบบเป็นจุดเริ่มต้นไปสู่การควบคุมเรือนร่างและการละเมิดสิทธิ์เหนือร่างกายอื่นๆ โรงเรียนมีสิทธิ์อำนาจเด็ดขาดในการดูแลชีวิตและความเป็นไปของนักเรียน ไม่มีองค์กรหรือกลไกลใดมาคานอำนาจ…

  • ประเทศไทยไปทางไหน

    ประเทศไทยไปทางไหน

    ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมาสังคมไทยมีความตื่นตัวทางการเมืองเป็นอย่างมาก จนนำมาสู่หมุดหมายของการเปลี่ยนแปลงด้านการเมืองและวัฒนธรรมครั้งสำคัญ ซึ่งมีผลต่อทัศนคติ และการใช้ชีวิตของคนในสังคมไทย และจากสิ่งที่เกิดขึ้น พวกเราจึงมีคำถามใหญ่ร่วมกันว่า “ประเทศไทยของเราจะไปทางไหน”, “สังคมการเมืองไทยจะนำมาสู่จุดเปลี่ยนในประเด็นใดบ้าง” และ “เราในฐานะประชาชนจะต้องรับมืออย่างไร” ในโอกาสที่สังคมไทยกำลังก้าวผ่านจากปี 2022 สู่ปี 2023 Book Re:public จึงชวนผู้เชี่ยวชาญทั้งด้าน สังคมศาสตร์, รัฐศาสตร์ และ กฎหมาย มาร่วมแกะรอยปรากฏการณ์ทางสังคมการเมืองในปัจจุบัน สู่การคาดการณ์สิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ผ่านงานเสวนา “ประเทศไทยไปทางไหน : ในมุมมองของนักกฎหมาย นักสังคมศาสตร์ และนักรัฐศาสตร์” ร่วมพูดคุยกับ ชวนคุยโดย นาวินธิติ จาก SAAP 24:7 เนื้อหาบางส่วนจากเสวนา “ประเทศไทยไปทางไหน” คาดการณ์การเปลี่ยนแปลงของแวดวงกฎหมาย อ.นัทมน : ในปัจจุบันตัวบทกฎหมายที่เราคุ้นชินอยู่ เมื่อนำมาใช้ในชีวิตจริงมันคนละเรื่องกัน การใช้กฎหมาย การตีความกฎหมาย เราไม่สามารถเชื่อในตัวหนังสือได้ แม้มันมีเจตนารมณ์อธิบายกำกับอยู่ แต่การใช้กฎหมายในความเป็นจริงต่างกันกับในหนังสือ ยกตัวอย่างคดีที่กำลังติดตามคดีอยู่ หรือได้ไปเป็นผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมายในบางคดี มันเหมือนกับเราซื้อหวย คำตัดสินคดีของผู้พิพากษา เราฟังแล้วมีแววตัดสินคดีมีความสอดคล้องกับสิ่งที่เราเรียนมา พออ่านคำพิพากษาในตอนท้ายกลับกลายเป็นว่า ‘คดีพลิก’ มันกลับเป็นคนละทางกับที่เราคาดการไว้ อนาคตถ้าเราไม่สามารถแก้ไขกระบวนการยุติธรรม…

  • ยืมอ่าน-ยืนหยุดขัง มุมยืมหนังสือที่เปิดทำการเป็นเวลา 1 ชั่วโมง 12 นาที

    ยืมอ่าน-ยืนหยุดขัง มุมยืมหนังสือที่เปิดทำการเป็นเวลา 1 ชั่วโมง 12 นาที

    จากกิจกรรมยืนหยุดขังที่เกิดขึ้นในจังหวัดเชียงใหม่ดำเนินมาจนถึงวันที่ 10 ที่ลานหน้าอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ นอกจากกิจกรรมหลักที่ประชาชนยืนสงบนิ่งในทุกๆวันช่วงเวลา 5 โมงเย็นเป็นต้นไป สิ่งที่เรามักจะสังเกตเห็นเมื่อไปร่วมกิจกรรม คือการยืนอ่านหนังสือของผู้คนหลากหลายช่วงอายุ หลากหลายเนื้อหาความสนใจ  จากการเข้าไปสอบถาม หลายคนที่ยืนอ่านหนังสือบอกว่า ทุกวันจะมีกล่องลังกระดาษที่บรรจุหนังสือหลากหลายประเภทวางไว้อยู่มุมหนึ่งของลานฯ ให้คนที่มาร่วมกิจกรรมได้ยืมอ่านขณะที่ยืน และนำไปคืนเมื่อเวลา 1 ชั่วโมง 12 นาที สิ้นสุดลง  ซึ่งเจ้าของไอเดีย “ยืมหนังสือ” ช่วงของการทำกิจกรรมยืนหยุดขังคือ “หมอมีน”และ “ซู่หมู” จากสมาชิกของผู้เข้าร่วมกิจกรรมยืนหยุดขัง  มาสู่การสร้างสรรค์กิจกรรม “ยืมอ่าน -ยืนหยุดขัง” เกิดจากความตั้งใจที่อยากจะเปิดพื้นที่แลกเปลี่ยนหนังสือให้คนที่มาร่วมยืนได้อ่านหนังสือในช่วงเวลา 1 ชั่วโมง 12 นาที เริ่มต้นไอเดีย “ยืมอ่าน -ยืนหยุดขัง” ซู่หมู : เรามาร่วมกิจกรรมยืนหยุดขังตั้งแต่ช่วงแรก โดยส่วนตัวเราเป็นคนสนใจ และสังเกตการใช้พื้นที่สาธารณะในการทำกิจกรรมของผู้คน  แล้วเห็นว่ากิจกรรมยืนหยุดขังที่เกิดขึ้นบริเวณลานสามกษัตริย์มีพัฒนาการเป็นไปตามธรรมชาติโดยตัวเอง ทั้งคนยืนที่มาเพิ่มขึ้น กิจกรรมที่ทำระหว่างยืนก็มีคนเอา podcast มาฟังบ้าง หาหนังสือมาอ่านบ้าง เราเลยไปชวน ‘หมอมีน’ มาอ่านหนังสือที่งานนี้ ประจวบเหมาะว่าหมอมีนเป็นคนมีหนังสือเยอะ เลยชวนกันหยิบเอาหนังสือที่มียกใส่กล่องมาตั้งไว้ที่งานให้คนยืมอ่าน หมอมีน : เราเอาหนังสือที่เรามีอยู่แล้วในห้องมาให้คนยืมอ่านที่นี่…

  • อ่านหยุดขัง – ยืนหยุดขัง เชียงใหม่

    อ่านหยุดขัง – ยืนหยุดขัง เชียงใหม่

    “กิจกรรมยืนหยุดขัง” เป็นกิจกรรมการแสดงออกทางการเมืองอย่างสันติวิธีเพื่อเรียกร้องการปล่อยตัว แกนนำราษฎร ที่ถูกคุมขังโดยไม่ได้รับสิทธิประกันตัว และไม่เห็นด้วยต่อกระบวนการยุติธรรมที่บังคับใช้กับประชาชนในเวลานี้ กิจกรรมยืนหยุดขังกำลังกระจายไปสู่จังหวัดอื่นๆด้วยเช่นกัน ที่จังหวัดเชียงใหม่กิจกรรมนี้ดำเนินมาถึงวันที่ 8 ประชาชนชาวเชียงใหม่ยังคงมาร่วมกิจกรรมอย่างไม่ขาดสายทุกวัน ตั้งแต่เวลา5โมงเย็นเป็นต้นไป โดยทุกคนพร้อมใจกันยืนสงบนิ่งเป็นเวลา 1 ชั่วโมง 12 นาที ที่ลานหน้าอนุสาวรีย์สามกษัตริย์  นอกจากเราจะเห็นการรวมตัวกันของคนหลากหลายวัยเพื่อมาทำกิจกรรม เรายังสังเกตุเห็นว่าหลายคนต่างก็มีกิจกรรมเสริมในรขณะยืน อย่างเช่น การอ่านหนังสือ หรือในชื่อกิจกรรม“อ่านหยุดขัง”  หนังสือที่แต่ละคนพกมาอ่าน มีหลากหลายประเภท ทั้งหนังสือการเมือง วรรณกรรม บทกวี จนกลายเป็นภาพสัญลักษณ์การแสดงออกทางการเมืองที่ซ้อนทับความหมายเดิมของพื้นที่แห่งนี้ ทั้งเป็นพื้นที่แห่งความนิ่งเงียบที่แสดงให้เห็นถึงความไม่จำยอมต่ออำนาจรัฐ และเป็นพื้นที่แห่งการอ่าน  อ่านเพื่อเดินทางผ่านตัวหนังสือ อ่านเพื่อการต่อต้าน อ่านเพื่อการเบิกเนตร อ่านเพื่อรักษาอุดมการประชาธิปไตย ซึ่งทุกอย่างเกิดขึ้นพร้อมกันในเวลา 1 ชั่วโมง 12 นาที  สำรวจหนังสือที่ชาวเชียงใหม่หยิบมาอ่านในกิจกรรม”ยืนหยุดขัง”วันที่ 8 เนรเทศ  ภู กระดาษ “ผมกำลังจะทำโปรเจ็คศิลปะที่ขอนแก่น เพื่อนเลยแนะนำให้อ่านเล่มนี้ เพื่อทำความเข้าใจความเป็นอีสาน ในอีกมุมหนึ่ง เล่มนี้เรื่องสั้นที่ใช้ภาษาท้องถิ่นในการนำเสนอวิถีชีวิตของคนอีสาน ความยากลำบากในการใช้ชีวิต ที่ต้องแปรผันไปตามการเมือง การปกครองของสังคมไทย โดยเฉพาะชนชั้นแรงงาน หรือชนชั้นล่าง” โอลด์รอยัลลิสต์ดาย  วาด…

  • ก้าวใหม่ในการทำงานของ Book Re:public ในปี 2021

    ก้าวใหม่ในการทำงานของ Book Re:public ในปี 2021

    หากใครเป็นแฟนคลับของร้านหนังสืออิสระ Book Re:public คงยังจำกันได้ว่าเราเปิดร้านครั้งแรกเมื่อปี 2011 ที่ สาขาคันคลอง จนย้ายมาที่ สาขาถนนกองบิน 41 (ปี2015 – 2019) และในครั้งที่ 3 ณ เวลานี้ เราได้ย้ายมาอยู่ที่ ซอยวัดอุโมงค์ แม้ขนาดของร้านจะเล็กลงกว่าเมื่อก่อนมาก แต่ไม่ใช่อุปสรรคในการสร้างสรรค์กิจกรรมต่างๆ ของพวกเราในปี 2021 นี้ ย้อนกลับไปในช่วงเวลา 8 ปีก่อนหน้านี้ สังคมเชียงใหม่มีแนวโน้มของการตื่นรู้ในประเด็นทางสังคมที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ  ก้าวแรกของ Book Re:public เราจึงมีความตั้งใจที่จะสร้างพื้นที่แห่งการเรียนรู้ ให้กับคนรุ่นใหม่ในเมืองเล็กๆ แห่งนี้ จากคำถามและข้อจำกัดต่างๆ ของการเข้าถึงความรู้ ข้อมูลที่หลากหลาย และเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ ที่ยังจำกัดอยู่แต่ในพื้นที่การศึกษา และในเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพ จึงเป็นเป้าหมายแรกของเรา ว่าจะทำอย่างไรให้ความรู้เหล่านั้น กระจายมาสู่พื้นที่อื่นๆได้บ้าง จนนำไปสู่การออกแบบพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในรูปแบบของร้านหนังสือ ที่มีพื้นที่สำหรับจัดงานเสวนาวิชาการ ซึ่งได้คัดสรร หมุนเวียนเนื้อหาให้เข้ากับกระแสความสนใจของคนในสังคมในแต่ละช่วงเวลา ด้วยวิทยากร ผู้เชี่ยวชาญเนื้อหาด้านต่างๆ ทั้งการเมือง ,ศิลปะวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์คู่ขนาน ,ความหลากหลายทางเพศ , กลุ่มชาติพันธุ์…

  • ล้านนานอก(ก)รอบ

    ล้านนานอก(ก)รอบ

    ล้านนา นอก(ก)รอบ: อ่านประวัติศาสตร์ล้านนาผ่านแว่นตาคู่ใหม่ ชวนคุยโดย – อาจารย์วิชญา มาแก้วอาจารย์ประจำภาควิชาวัฒนธรรมศึกษา มหาวิทยาราชภัฏเชียงใหม่ – คุณเฉลิมวุฒิ ต๊ะคำมีนักวิชาการอิสระด้านล้านนาคดีศึกษา – อาจารย์ มนวัธน์ พรหมรัตน์อาจารย์ประจำสำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ในวันเสาร์ที่ 30 มีนาคม 2019 อ.มนวัธน์ : สวัสดีท่านผู้ฟังและสวัสดีผู้ชมไลฟ์ที่กำลังชมตอนนี้และจะชมต่อไปในอนาคตด้วย วันนี้หัวข้อล้านนานอกรอบ หรือ นอกกรอบ จะอะไรก็แล้วแต่จะอ่านกันเพราะว่าทำกรอบไว้แล้ว จริงๆงานนี้สืบเนื่องมาจากประมาณเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว ทางมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ลำปาง มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางก็ได้ร่วมเสวนาชิ้นหนึ่งก็คือเสวนา resetalizing ล้านนา ออกแบบสูตรอำนาจล้านนา ซึ่งเป็นการพยายามร่วมกันของกลุ่มคนที่สนใจเรื่องเกี่ยวกับล้านนาที่จะเอาล้านนาออกจากล้านนาที่เรารู้จัก ขยายวงเกี่ยวกับความรู้ล้านนาศึกษาออกไปจากสูตรอำนาจเดิมในแง่สูตรอำนาจในเชิงการเมืองการปกครองแบบเชียงใหม่และสูตรอำนาจความรู้ในสถาบันการศึกษาหลักๆ ที่เกี่ยวกับล้านนาคดีศึกษา หรือล้านนาศึกษาทั้งหลายด้วย ซึ่งในวันนั้นเราทั้งสามคนก็ได้ไปพูดในวันนั้นเหมือนกันหมด ส่วนตัวผมก็ได้ไปเสนองานในเรื่องของพุทธและก็ศิลป์หริภุญชัยใต้แนวล้านนา ส่วนอาจารย์อาจารย์วิชญา มาแก้ว ที่มหาวิทยาราชภัฏเชียงใหม่ ก็ได้ไปพูดล้านนาไม่เท่ากับเชียงใหม่ ไปพูดในประเด็นเกี่ยวกับการทำความเข้าใจคอนเซปกี่ยวกับล้านนาทั้งเรื่องการเมืองหรือวัฒนธรรมล้านนนาว่ามันออกไปจากความคิดที่ว่าล้านนาคือเชียงใหม่อย่างไรได้บ้าง ซึ่งวันนี้พวกเราอยากจะคุยเป็นเรื่องเกี่ยวกับการใช้หลักฐาน การแปล การแปลง การตีความ เพราะว่าทุกทีแว่นในการอ่านล้านนาหรือทำความเข้าใจคดีศึกษาหรือว่าประวัติศาสตร์ล้านนาทั้งหลายมันมีแว่นอยู่แทบไม่กี่อัน และแว่นเหล่านั้นเราจะวิพากษ์มันอย่างไง แล้วเราจะหาแว่นใหม่ได้ไหม หรืออาจจะไม่บอกว่าสร้างแว่นใหม่กัน หรือมีวิธีการมองอื่นๆอีกไหม หรืออาจจะไม่ผ่านแว่นแต่ผ่านอย่างอื่นซึ่งเราก็ไม่รู้ จุดตั้งต้นของการอ่านหลักฐานล้านนา อ.มนวัธน์…

  • อ่านการเมืองเรื่องภาษากับท่งกุลาลุกไหม้

    อ่านการเมืองเรื่องภาษากับท่งกุลาลุกไหม้

    ถอดเทปเสวนา: อ่านการเมืองเรื่องภาษากับท่งกุลาลุกไหม้

  • จิบชา อ่านหนังสือรับมือ 2019

    จิบชา อ่านหนังสือรับมือ 2019

    เสวนาแนะนำหนังสือ : จิบชา อ่านหนังสือรับมือ 2019

  • AUTONOMIA ทุนนิยมความรับรู้ แรงงานอวัตถุ และการเมืองของการปฏิวัติ

    AUTONOMIA ทุนนิยมความรับรู้ แรงงานอวัตถุ และการเมืองของการปฏิวัติ งานเปิดตัวหนังสือ ” AUTONOMIA ทุนนิยมความรับรู้ แรงงานอวัตถุ และการเมืองของการปฏิวัติ ” พร้อมพูดคุยกับผู้เขียน เก่งกิจ กิติเรียงลาภ จากคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่จะมาเล่าเรื่องราว ที่มา และประเด็นเนื้อหาภายในเล่ม ชวนคุยโดย ทัศนัย เศรษฐเสรี จากสาขา สื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในวันเสาร์ที่ 1 กรกฎาคม 2017 “ขบวนการ Autonomia สามารถอ่านในฐานะเศรษฐศาสตร์การเมือง ปรัชญาการเมือง หรือสังคมวิทยาก็ได้ ความสนใจและคำถามของผมต่อ Autonomia คือมาร์กซิสต์จะยังสามารถใช้อธิบายสังคมปัจจุบันได้หรือไม่ ขบวนการเคลื่อนไหวของแรงงานนั้นตายลงไปแล้วจริงหรือไม่ แล้วเราที่เฉื่อยชาจะสามารถกลายเป็นองค์ประธานของการเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร……”– เก่งกิจ กิติเรียงลาภ “ความคิดของ Spinoza ไม่ได้พูดถึงเสรีภาพในสถานะabsolute แต่อธิบายว่าเสรีภาพนั้นอยู่อย่างเกาะเกี่ยวสัมพันธ์กับปัจจัยบางอย่างเสมอ เช่นเดียวกับที่อาจารย์เก่งกิจอธิบายในหนังสือว่าทุกขบวนการนั้นเชื่อมโยงกับปฏิบัติการและบริบทโดยรอบ. ชี้ให้เห็นว่าเสรีภาพแบบมนุษยนิยมที่มองทุกอย่างแยกขั้วชัดเจนนั้นมีปัญหา…….”  – ทัศนัย เศรษฐเสรี “ศักยภาพของมนุษย์หรือพลังทางการผลิตเป็นสิ่งที่มีอยู่ก่อนความสัมพันธ์ทางการผลิต การครอบงำและการขูดรีด……”– เก่งกิจ กิติเรียงลาภ “Autonomia ไม่เคยเชื่อในขบวนการหรือวิธีการต่อสู้ที่เป็นสากลตายตัว แต่เชื่อในการต่อต้านที่เกิดจากการปกป้องการมีชีวิตที่เป็นอิสระ…

  • Book(s) Talk จิบพม่า ตามหาจอร์จ ออร์เวล และ อ่าน คำนำ “คำนำ” อ.ชาญวิทย์

    Book(s) Talk จิบพม่า ตามหาจอร์จ ออร์เวล และ อ่าน คำนำ “คำนำ” อ.ชาญวิทย์ Book(s) Talk วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน “คำนำ” หนังสือรวบรวมคำนำที่ อ.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ เขียนไว้ให้กับหนังสือหลายๆ เล่ม (รวมทั้ง หนังสือจิบพม่าตามหาจอร์จ ออร์ลเวล) ร่วมคุย ร่วมแกะรอยเดินทาง ของจอร์จ ออร์เวล นักเขียนที่ผลงานเขียนของเขามีความโดดเด่นแม้จะผ่านมาหลายยุคหลายสมัย ผลงานเขียนของเขายังเป็นที่จดจำและส่งต่อให้คนรุ่นใหม่ได้อ่าน อย่าง The Animal Farm และ 1984 โดยการผ่านหนังสือ”จิบพม่า ตามหาจอร์จ ออร์เวล” ซึ่งคุณสุภัตรา ภูมิประภาส เป็นผู้แปลหนังสือเล่มนี้ ใครเป็นแฟนจอร์จ ออร์เวล แนะนำให้อ่านเป็นอย่างยิ่งค่ะ และยังได้เรียนรู้พม่าในยุครัฐทหารที่เข้มข้นอีกด้วย ผู้มาร่วมเสวนา คุณสุภัตรา ภูมิประภาส, คุณอรรคณัฐ วันทนะสมบัติ, คุณภัควดี วีระภาสพงษ์ และ คุณสิทธา…

Design a site like this with WordPress.com
Get started