“WE NEED FREEATIVE SPACE”

เชียงใหม่คือเมืองศิลปะจริงไหม แล้วทำไมถึงไม่มีพื้นที่ศิลปะที่ง่ายต่อการเข้าถึง?

นี่คือคำถามแรกของ SYNC SPACE กลุ่มนักสร้างสรรค์ที่อยากเห็น ‘พื้นที่สร้างสรรค์สาธารณะ’ แม้ว่าเชียงใหม่จะมีพิพิธภัณฑ์หรือ Art Gallery อยู่หลายแห่ง แต่การใช้พื้นที่นั้นกลับมีข้อจำกัดที่มากเกินเอื้อม

กลุ่ม Sync Space เห็นว่า นักสร้างสรรค์รุ่นใหม่นั้นควรได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ สำหรับพื้นที่เรียนรู้ พื้นที่การแสดงออก พื้นที่สำหรับกิจกรรมที่หลากหลาย และพื้นที่ที่แสดงถึงความเป็นเมืองศิลปะของผู้คนอย่างแท้จริง

มาร่วมกันผลักดันเพื่อให้เกิดพื้นที่สร้างสรรค์กันเถอะ!

FREEATIVE

SPACE

MATTERS

เพราะอะไรกัน ทำไม ‘พื้นที่’ จึงสำคัญสำหรับนักสร้างสรรค์ แล้ว ‘พื้นที่’ ที่ว่านี้คือห้องโล่ง ๆ เปล่า ๆ สีขาว ที่มีไว้จัดแสดงงานเหรอ นั่นใช่สิ่งที่เราต้องการจริง ๆ มั้ย?

ก็คงใช่ การมีพื้นที่ศิลปะสำหรับทำอีเวนต์ จัดแสดง การฝึกซ้อม เป็นเรื่องใหญ่ของคนทำงานสร้างสรรค์แทบทุกแขนง ที่ต้องการการเข้าถึง นำเสนอ และใช้งานได้ในบริบทที่เหมาะสม แต่เมื่อถ้ามีพื้นที่แล้วยังไงกันล่ะ ? คงไม่ใช่สิ่งเดียวที่ตอบโจทย์การมีอยู่ของนักสร้างสรรค์ หากลองมองว่า ‘พื้นที่’ ไม่ใช่แค่เรื่องของการได้แสดงผลงาน แต่เป็นเรื่องของโอกาสในการเติบโต เรียนรู้ และได้มีปฎิสัมพันธ์กับผู้คน

เพราะคนทำงานสร้างสรรค์นั้นไม่ควรถูกตัดขาดหรือถูกละเลย ‘พื้นที่’ ที่ว่านี้จึงควรเป็นทั้งการได้แสดงออก การได้มีช่องทางในการเข้าถึงความรู้ โดยไม่ใช่การมีเพื่อสนับสนุนแค่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น แต่ยังสามารถเชื่อมต่อกับผู้คนได้หลายรูปแบบ และที่สำคัญควรจะมีพื้นที่ ‘ฟรี’ เพื่อเปิดโอกาสหรือทำให้กลุ่มนักศึกษาเข้าถึงได้มากขึ้น

เราก็สร้างพื้นที่เองเสียเลยสิ!!! และเพื่อส่งเสียงให้ ‘รัฐ’ เห็นความสำคัญของการมีพื้นที่สร้างสรรค์ ซึ่งอันที่จริงแล้วบทบาทของรัฐคือสิ่งสำคัญในการพูดถึงเรื่องนี้อย่างยิ่ง โดยเฉพาะการมีพื้นที่สร้างสรรค์ในบริเวณ ‘พื้นท่ีสาธารณะ’ เพราะว่ารัฐเป็นผู้ดูแลและบริหารจัดการ

อีกทั้งการทำความเข้าใจความหมายของ ‘งานสร้างสรรค์’ ที่มาจากความเข้าใจของคนรุ่นใหม่และคนในพื้นที่ชุมชนอีกด้วย ความหมาย จึงไม่ใช่สิ่งที่รัฐสามารถนิยามได้แต่เพียงผู้เดียว บางครั้งการแยกขาด และการไม่รับฟังเสียงจากผู้คน อาจนำไปสู่การสร้างอาคารโดยงบประมาณส่วนกลางที่ไม่ตอบโจทย์ หรือการออกแบบพื้นที่ในเมืองที่ไม่สอดรับกับปัญหา จนกลายเป็นพื้นที่ที่ถูกแช่แข็ง และไม่มีคนเข้าไปใช้ประโยชน์ในท้ายสุด

นั่นคือเหตุผลที่เราควรจะมีพื้นที่ที่สามารถพูดคุยกันได้

ยกตัวอย่างในตอนนึงของหนังสือ The Death and Life of Great American Cities เจน เจคอบส์ ได้พูดถึงเรื่อง บทบาทของรัฐ (Governing and planning districts) ว่ารัฐควรมีบทบาทที่สามารถจัดการ วางแผน และทำความเข้าใจปัญหาของผู้คน ปัญหาไม่ควรถูกจัดการได้ด้วยสายตาแต่เพียงแค่รัฐอย่างเดียวเท่านั้น ดังนั้นการออกแบบสิ่งที่อยู่ในชีวิตประจำวัน เช่น ถนน ทางเดิน พื้นที่พูดคุย ร้านค้า ย่านศิลปะ ของผู้คนนั้นเป็นอย่างไร สิ่งไหนจำเป็น และอะไรคือตัวหล่อเลี้ยงพวกเขาบ้าง นี่จึงเป็นบทบาทสำคัญของรัฐที่ละเลยไม่ได้

คนที่อยู่อาศัยในเมืองสามารถออกแบบเมืองสร้างสรรค์ของตัวเองได้และคุณก็สามารถสร้างความหมายของ ‘พื้นที่สร้างสรรค์’ ในแบบของคุณได้ด้วยเช่นกัน

“จริงๆเชียงใหม่เป็นเมืองที่น่าอยู่ มันคงจะดีถ้าหากว่าเราตื่นขึ้นมาแล้ววันนี้อยากออกไปเล่นดนตรีเปิดหมวกในที่สาธารณะ หรืออยากออกไปนั่งวาดรูปโดยที่รู้สึกว่าตัวเองปลอดภัย เพื่อเข้าไปในพื้นที่ที่เราสามารถเป็นตัวของตัวเอง ได้แสดงออกถึงการมีอิสระของเรา”

พื้นที่ไม่ได้เป็นเพียงแค่การนิยามของอิฐ ปูน กระดาษ แต่มันคือการมีตัวตน การพบปะผู้คนโดยบังเอิญ และการได้ทำกิจกรรมกับคนที่สนใจเรื่องเดียวกัน


กิจกรรมของพวกเรา

SYNC SPACE

กลุ่มนักสร้างสรรค์ที่อยากเห็น
‘พื้นที่สร้างสรรค์สาธารณะ’

YOUR BODY
YOUR SPACE

กิจกรรมที่ Sync Space ได้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 8 มีนาคม ซึ่งคือ ‘วันสตรีสากล’เราเห็นถึงปัญหาของแร­งงานหญิงที่ขาดพื้นที่การพูดและแสดงออก­ เราจึงอยากช่วยผลั­กดันในประเด็นนี้ โดยชวนทุกคนเริ่มจากก­ารแสดงออกแบบบนร่างกายขอ­งตัวเอง วัสดุที่เราเลือกมาจะ­เป็นผ้า เพราะผ้าเป็นส่วนประก­อบสำคัญสำหรับเครื่อง­นุ่งห่มที่ปกคลุมร่าง­กาย โดยให้ผู้เข้าร่วม สามารถเขียน พ่นสี บนผ้าที่มีอยู่ แล้วนำไปออกแบบตกแต่งบนร่างใ­นรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกระโปรงห­รือผ้าคลุม
เพราะเรามองว่าร่างกายของเ­ราก็คือพื้นที่ เราสามารถออกแบบ หรือแสดงออกผ่านมันได้เช่นเดียวกัน จึงเป็นที่มาของชื่อกิจกรรมนี้


ซิ้งซิ่ง!
Sync (Zing)
Space

วันอาทิตย์ที่ 17 เมษายน 2565 พวกเรามีกิจกรรมพื้นที่สร้างสรรค์โดยกลุ่ม SYNCE Space และเพื่อนๆมาจัดงาน ซาวด์ซิ้งซิ่ง ว่าซั่นนนน! Sync Zing Sound [Public Jam Session]เปิดเวทีกระจายเสียง เรียกคนเข้ามาแจมมิ่ง เพียงแค่คุณรักในเสียงดนตรี และไม่จำเป็นต้องมีทักษะใดๆ ก็เข้ามาแจมกันได้ บริเวณหน้าคุกหญิงเก่า – ซอยข้างที่ว่าการอำเภอเก่า กลางเวียง


unFIXED Rehearsal การแสดงละครเวที ที่ต้องการซ้อมไปเรื่อยๆ
ในงานเราจะมี เวิร์คชอร์ปที่จะชวนกันมาเล่นละคร เรามีอุปกรณ์และคนที่คอยแนะนำให้คุณพร้อม! หรืออยากจะเอาอะไรมาแจมก็ได้เช่นกัน 


ปิดท้ายด้วยกิจกรรม ฉายภาพยนตร์เรื่อง Payday — สุขสันต์วันเงินออก~ ร่วมกับกลุ่ม Dude Movie ภาพยนต์ที่จะสร้างเสียงหัวเราะให้คุณแม้ในวันกระเป๋าแห้งแบน ให้เสียงพากย์ไทยโดยชาว “คณะเชิญยู๊ด” คณะตลกดาวรุ่งดวงใหม่แห่งเมืองล้านนา!!!


Pages: 1 2

Design a site like this with WordPress.com
Get started