Tag: การเมือง

  • เสวนา 79 ปี นิธิ ชาติที่เรา(จะ)รัก [ตอนที่1]

    เสวนา 79 ปี นิธิ ชาติที่เรา(จะ)รัก [ตอนที่1]

    งานเสวนา ชาติที่เรา(จะ)รัก 79 ปี นิธิ เอียวศรีวงศ์ : วันที่ 25 พฤษภาคม 2019 ช่วงที่ 1 หัวข้อ “วิธีการบอก(ไม่)รักชาติบนtwitter” โดย อาจารย์พศุตม์ ลาศุขะ ภาควิชาภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

  • AUTONOMIA ทุนนิยมความรับรู้ แรงงานอวัตถุ และการเมืองของการปฏิวัติ

    AUTONOMIA ทุนนิยมความรับรู้ แรงงานอวัตถุ และการเมืองของการปฏิวัติ งานเปิดตัวหนังสือ ” AUTONOMIA ทุนนิยมความรับรู้ แรงงานอวัตถุ และการเมืองของการปฏิวัติ ” พร้อมพูดคุยกับผู้เขียน เก่งกิจ กิติเรียงลาภ จากคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่จะมาเล่าเรื่องราว ที่มา และประเด็นเนื้อหาภายในเล่ม ชวนคุยโดย ทัศนัย เศรษฐเสรี จากสาขา สื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในวันเสาร์ที่ 1 กรกฎาคม 2017 “ขบวนการ Autonomia สามารถอ่านในฐานะเศรษฐศาสตร์การเมือง ปรัชญาการเมือง หรือสังคมวิทยาก็ได้ ความสนใจและคำถามของผมต่อ Autonomia คือมาร์กซิสต์จะยังสามารถใช้อธิบายสังคมปัจจุบันได้หรือไม่ ขบวนการเคลื่อนไหวของแรงงานนั้นตายลงไปแล้วจริงหรือไม่ แล้วเราที่เฉื่อยชาจะสามารถกลายเป็นองค์ประธานของการเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร……”– เก่งกิจ กิติเรียงลาภ “ความคิดของ Spinoza ไม่ได้พูดถึงเสรีภาพในสถานะabsolute แต่อธิบายว่าเสรีภาพนั้นอยู่อย่างเกาะเกี่ยวสัมพันธ์กับปัจจัยบางอย่างเสมอ เช่นเดียวกับที่อาจารย์เก่งกิจอธิบายในหนังสือว่าทุกขบวนการนั้นเชื่อมโยงกับปฏิบัติการและบริบทโดยรอบ. ชี้ให้เห็นว่าเสรีภาพแบบมนุษยนิยมที่มองทุกอย่างแยกขั้วชัดเจนนั้นมีปัญหา…….”  – ทัศนัย เศรษฐเสรี “ศักยภาพของมนุษย์หรือพลังทางการผลิตเป็นสิ่งที่มีอยู่ก่อนความสัมพันธ์ทางการผลิต การครอบงำและการขูดรีด……”– เก่งกิจ กิติเรียงลาภ “Autonomia ไม่เคยเชื่อในขบวนการหรือวิธีการต่อสู้ที่เป็นสากลตายตัว แต่เชื่อในการต่อต้านที่เกิดจากการปกป้องการมีชีวิตที่เป็นอิสระ…

  • “สนามรบไร้น้ำตา” KACHIN : Forbidden Land

    “สนามรบไร้น้ำตา” KACHIN : Forbidden Land โดย กรรณิกา เพชรแก้ว นักข่าวไทยที่เข้าถึงใจกลางพื้นที่เขตกบฎคะฉิ่นในพม่า เรื่องเล่าการต่อสู้ของเพื่อนบ้านคะฉิ่นที่มีมาอย่างยาวนาน หลังจากพม่าได้รับเอกราชจากอังกฤษในปี 1947 แม้ว่าพม่าต้องการรวบรวมชนกลุ่มน้อยต่างๆเข้าไว้ด้วยกัน แต่ชนกลุ่มน้อยที่กระจายตัวในประเทศพม่าไม่ได้ยอมรับการอยู่ใต้อำนาจการปกครอง ซึ่งก่อให้เกิดจากปัญหาการต่อสู้ระหว่างชนกลุ่มน้อยกับพม่ายาวนานมาตั้งแต่ปี 1950 หนึ่งในนั้นคือรัฐคะฉิ่น ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีการสู้รบมาอย่างยาวนาน ทำให้ชาวคะฉิ่นในพื้นที่จำเป็นจะต้องหลบภัยสงคราม ก่อให้เกิดปัญหายืดเยื้อที่เป็นผลกระทบต่อประชากรคะฉิ่น เช่นการหลบหนีภัยสงคราม อาหารและยารักษาโรคที่มีไม่เพียงพอ

  • สหรัฐอเมริกาและระเบียบโลกใหม่ภายใต้โดนัล ทรัมป์ : The Dark (k)night rises?

    สหรัฐอเมริกาและระเบียบโลกใหม่ภายใต้โดนัล ทรัมป์ : The Dark (k)night rises? เสวนาหัวข้อ “สหรัฐอเมริกาและระเบียบโลกใหม่ภายใต้โดนัล ทรัมป์ : The Dark (k)night rises?” ฟังการวิเคราะห์ความเป็นไปของอเมริกาภายใต้ประธานาธิบดีคนใหม่ ที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าได้สร้างแรงสั่นสะเทือนไปถึงนานาประเทศ ร่วมเสวนาโดย อาจารย์สิริพรรณ นกสวน สวัสดี อาจารย์วรรณภา ลีระศิริ ที่ศึกษาเชียวชาญการเมืองอเมริกา

  • เมื่อโลกพลิกผัน : โปลานยีกับเสรีภาพในสังคมซับซ้อน

    เมื่อโลกพลิกผัน : โปลานยีกับเสรีภาพในสังคมซับซ้อน

    เมื่อโลกพลิกผัน : โปลานยีกับเสรีภาพในสังคมซับซ้อน โดย อ.ศุภมิตร ปิติพัฒน์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ และ ผู้แปล คุณภัควดี วีระภาสพงษ์ ชวนคุยโดย อ.ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี “มนุษย์ไม่สามารถดำรงชีวิตได้โดยไม่มีสังคม โปลานยีเห็นว่าความเป็นสังคมมีความสำคัญมากกว่าความเป็นมนุษย์ ถ้าไม่มีสังคม มนุษย์ก็จะเปลือยเปล่าล่อนจ้อน..” — ภัควดี

  • กฎหมายรัฐธรรมนูญกับประชาธิปไตยไทย

    กฎหมายรัฐธรรมนูญกับประชาธิปไตยไทย โดย วรเจตน์ ภาคีรัตน์ คำอภิปรายใน เวทีสาธารณะ ซึ่งจัดโดย Book Re:public ร่วมกับภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อวันที่10 มีนาคม 2555 ณ ห้องประชุมชั้น 2คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมีวิทยากรประกอบไปด้วย รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์,รศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล,รศ.ดร.พวงทอง ภวัครพันธุ์ และมีผศ.ดร.ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี เป็นผู้ดำเนินการอภิปราย สวัสดีครับทุกท่าน เรื่องที่พูดกันในวันนี้คือเรื่องกฎหมายรัฐธรรมนูญกับประชาธิปไตยไทย เป็นเรื่องที่พูดกันได้มากมายหลายมิติ หลายแง่มุม ในส่วนของผม คิดว่าอยากจะพูดถึงเรื่องทั่ว ๆ ไป เรื่องรัฐธรรมนูญกับประชาธิปไตย และเรื่องรัฐธรรมนูญกับเอกลักษณ์ไทย ความจริงเรามีคำพูดว่า “แบบไทย” นี่เยอะเหมือนกัน ผมมีความรู้สึกเสมอว่าคำว่า “แบบไทย” ถ้าเอาไปต่อท้ายคำใด มันมักจะปฏิเสธสิ่งที่อยู่ข้างหน้าอยู่เสมอ อาทิเช่น “ประชาธิปไตยแบบไทย” มันคือไม่ใช่ประชาธิปไตย “ความยุติธรรมแบบไทย” มันคือไม่ใช่ความยุติธรรม สมมุติถ้าท่านต้องการปฏิเสธอะไรให้เอา “แบบไทย” ไปใส่ มันคือการปฏิเสธสิ่งนั้น  ถ้าจะพูดถึงรัฐธรรมนูญกับประชาธิปไตยอาจจะต้องมีเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจกันก่อนในเบื้องแรก คือหลายคนเข้าใจว่ารัฐธรรมนูญเท่ากับประชาธิปไตย ความจริงรัฐธรรมนูญกับประชาธิปไตยมันไม่เท่ากัน รัฐธรรมนูญเป็นเพียงกติกาพื้นฐานในการอยู่ร่วมกันในสังคมที่สมมติกันขึ้นมา และถูกจารึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรพร้อมกับสมมติให้เป็นกฎหมายสูงสุด เพื่อทำให้กฎหมายอื่นๆ ต้องอนุวรรตตามหรือกฎหมายอื่นๆขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญไม่ได้ แต่สิ่งที่เขียนในรัฐธรรมนูญนั้นอาจจะไม่ใช่ประชาธิปไตยก็ได้…

  • เมื่อความจริงโดนดำเนินคดีในประเทศไทยยุคกษัตริย์นิยมล้นเกิน

    เมื่อความจริงโดนดำเนินคดีในประเทศไทยยุคกษัตริย์นิยมล้นเกิน โดย ธงชัย วินิจจะกูล  (ดำเนินรายการโดย ภัควดี วีระภาสพงษ์)  บทบรรยายในงานเสวนา ณ ร้านบุ๊ค รี:พลับลิก วันที่ 17 ธันวาคม 2554ชื่อหัวข้อที่ใช้ในการบรรยายจริงคือ “เมื่อความจริง(และนิยาย)โดนดำเนินคดีในประเทศไทยยุคกษัตริย์นิยมล้นเกิน” แต่เนื่องจากเอาเข้าจริงไม่ได้กล่าวถึงนิยายเลยแม้แต่น้อย ในที่นี้จึงขอปรับชื่อหัวข้อเสียใหม่ให้สอดตล้องกับเนื้อหา               เดิมทีผมตั้งหัวข้อไว้ว่าจะคุยสนุกๆ แต่เหตุการณ์ในสองเดือนที่ผ่านมาทำให้ผมชักสนุกไม่ออก หากอาจจะมีคนอยากให้ผมพูดถึงเรื่องอากง พูดถึงเหตุการณ์เฉพาะหน้า อย่างไรก็ตามผมตั้งใจแต่แรกแล้วว่า ผมอยากจะดึงพวกเราออกจากสถานการณ์เฉพาะหน้าออกไปคิดเรื่องประวัติศาสตร์ทางความคิด เรื่องวัฒนธรรมไทยซึ่งเป็นเรื่องที่ผมถนัดมากกว่า ผมอยากจะดึงพวกเราออกจากเรื่องอากง ไปดูเรื่องประวัติศาสตร์ความคิดวัฒนธรรมไทย โดยจะอภิปรายถึงหนังสือสำคัญสักสองสามเล่ม ผมจะโยงให้เห็นประเด็นหลายอย่างที่เกี่ยวโยงกับเรื่อง 112 (ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112) แต่อยากดึงพวกเราออกจากเรื่องอากง ไม่ใช่เพราะเรื่องอากงหรือคนที่ติดคุกไม่สำคัญ แต่เพราะสำคัญ ผมจึงคิดว่าเราน่าจะรู้จักและเข้าใจเกินไปกว่ารูปธรรมของกรณีทั้งหลายที่เจออยู่ทุกวันนี้ น่าจะถือเป็นโอกาสที่เราจะทำความเข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้นในสังคมไทยมากกว่าเรื่องใครส่งSMS หรือไม่ เขียนอะไร พูดอะไร ถูกจับแล้วถูกดำเนินคดีอย่างไร เรื่องนั้นเป็นสิ่งที่พวกเรารู้ดี มีข้อมูลดีกว่าผมด้วยซ้ำ ผมขอพูดเรื่องที่ไม่ค่อยมีคนพูดถึงหรือพูดถึงไม่มากนักดีกว่า ชื่อเรื่องที่จะพูดในวันนี้สามารถเปลี่ยนไปได้หลายแบบ คือ “ความจริงถูกดำเนินคดี”เป็นการแปลไทยที่ไม่ดีนักจากหนังสือชื่อ Truth on Trial[1] มันมีความหมายในเชิงถูกตรวจสอบ ถูกสอบสวน เพราะว่าผมจะอภิปรายว่าในสังคมไทยนั้น Truth–สัจจะ เป็นความจริงหรือนิยาย สุดท้ายแล้วเราไม่รู้ชัด และเราไม่รู้ว่าเส้นแบ่งอยู่ตรงไหน มันอาจกลับตาลปัตรก็ได้ และเรื่องนี้ไม่ได้มาจากความคิดโพสต์โมเดิร์นเลย แต่ผมจะอภิปรายว่ามีที่มาจากความคิดแบบพุทธแบบไทยๆ ชื่อเรื่องที่จะพูดในวันนี้จึงสามารถเปลี่ยนได้หลายแบบ อาทิ  “Truth on Trial” หรือ “1984 กับนิยายประวัติศาสตร์ไทย”ก็ได้ “สัจจะหรือ Truth ในวัฒนธรรมไทย”ก็ได้ หรือว่า “สังคม 1984 แบบไทยๆ” ก็ได้ แต่หากเราตั้งชื่อเรื่องว่า “สังคม 1984 แบบไทยๆ” เราก็อาจจะขยายความ  “แบบไทยๆ”  อย่างพวกนิยมเจ้าทั้งหลายนิยมใช้ กล่าวคือหมายถึงแบบที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข…

  • กฎหมายรัฐธรรมนูญกับประชาธิปไตยไทย #2

    กฎหมายรัฐธรรมนูญกับประชาธิปไตยไทย โดย สมชาย ปรีชาศิลปกุล คำอภิปรายใน เวทีสาธารณะ ซึ่งจัดโดย Book Re:public ร่วมกับภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อวันที่10 มีนาคม 2555 ณ ห้องประชุมชั้น 2คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมีวิทยากรประกอบไปด้วย รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์,รศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล,รศ.ดร.พวงทอง ภวัครพันธุ์ และมีผศ.ดร.ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี เป็นผู้ดำเนินการอภิปราย สวัสดีครับ หัวข้อที่จะคุยในวันนี้ คือเรื่องกฎหมายรัฐธรรมนูญกับประชาธิปไตย โดยผมจะพยายามอธิบายรัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยในมิติที่กว้างขึ้นมากกว่าความขัดแย้งที่เป็นอยู่ ในเบื้องต้นหากเราสามารถเข้าใจปัญหาของเรื่องที่เป็นข้อขัดแย้งกันอยู่ ก็อาจจะทำให้เรามองเห็นทางที่จะไปได้มากขึ้น  เรื่องที่จะนำเสนอแบ่งออกเป็น4ประเด็น คือ  ความเป็นการเมืองของสิ่งที่เรียกว่ารัฐธรรมนูญและประชาธิปไตย เพดานความคิดเรื่องรัฐธรรมนูญในสังคมไทย   รัฐธรรมนูญสามฉบับของไทย  เราจะทำความเข้าใจสถานการณ์เฉพาะหน้าได้อย่างไร  ความเป็นการเมืองของรัฐธรรมนูญและประชาธิปไตย  เมื่อพูดถึงการเมืองและประชาธิปไตย คำว่า “รัฐธรรมนูญ” หรือ “ประชาธิปไตย” ในแง่หนึ่งล้วนเป็นคำที่มีภาษาทางการเมือง แม้ว่าจะเป็นกฎหมายหรือเกี่ยวข้องกับกฎหมาย แต่หมายความว่ามันเป็นคำที่เกี่ยวข้องและลื่นไหลเปลี่ยนแปลงได้ ยกตัวอย่างเช่น ความขัดแย้งทางการเมืองไทยที่ผ่านมาไม่ว่าในกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย หรือแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ (นปช.) ผมคิดว่าเราเห็นคำว่า “ประชาธิปไตย” อยู่ในทั้งสองกลุ่ม คือใครเป็นผู้ที่มีความหมายถูกต้อง ผมไม่รู้หรือไม่เชิงไม่รู้ แต่มันเป็นคำที่สามารถจะมีความหมายที่เปลี่ยนไปได้ หรืออย่างเช่นเวลาเราพูดว่าประชาธิปไตยคืออะไร ประชาธิปไตยตรงข้ามกับเผด็จการ     หรือเวลาพูดถึงประชาธิปไตยก่อน 2475 หมายถึง Republicที่ไม่มีพระเจ้าแผ่นดิน คือคำต่างๆ…

  • เสรีภาพสื่อในมือกฎหมาย

    เสรีภาพสื่อในมือกฎหมายบทบรรยายในงานเสวนา ณ ร้านบุ๊ค รี:พลับลิก วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2555 สาวตรี  สุขศรี (ดำเนินรายการโดย ทศพล ทรรศนกุลพันธุ์) ขอกล่าวสวัสดีผู้เข้าร่วมเสวนาทุกท่านอย่างเป็นทางการ และขออนุญาตแบ่งหัวข้อในการพูดให้สอดคล้องกับชื่อหัวข้องานในวันนี้ออกเป็น 5 ประเด็นด้วยกัน  ประกอบด้วย หนึ่ง ว่าด้วยเสรีภาพสื่อ สอง เสรีภาพสื่อในมือกฎหมาย สาม รัฐไทยใช้อำนาจในการจำกัดเสรีภาพสื่อโดยอาศัยกฎหมายฉบับต่าง ๆ สี่ คือ สื่อและอำนาจของสื่อสมัยใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “สื่อออนไลน์” เป็นลักษณะของการตั้งคำถามว่า เหตุใดรัฐไทยจึงกลัวสื่อออนไลน์ และประเด็นสุดท้ายเป็นเรื่อง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ พ.ศ. 2550 โดยจะอภิปรายให้ครอบคลุมถึงมาตรการอื่น ๆ ด้วยว่านอกจากตัวบทบัญญัติของกฎหมายแล้ว รัฐได้ออกมาตรการอื่นใดอีกหรือไม่ ที่ไม่เป็นมิตรกับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และเสรีภาพสื่อ ประเด็นแรก ว่าด้วยเสรีภาพสื่อ             ในการพูดถึง หรือการจะทำความเข้าใจว่าเหตุใดจึงต้องมี “เสรีภาพสื่อ” และเสรีภาพสื่อนี้แท้ที่จริงแล้วคืออะไรกันแน่  มีขึ้นเพื่ออะไร เราจำเป็นต้องมองให้เห็นความเชื่อมโยงสัมพันธ์ระหว่าง เสรีภาพสื่อ กับ เสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนเสียก่อนว่า โดยหลักแล้วประชาชนย่อมมี เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และเสรีภาพในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นเป็นเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนในอันที่จะคิดและแสดงความคิดนั้นออกมา ไม่ว่าจะคิดเห็นอย่างไรก็สามารถแสดงออกมาได้ในทุก ๆ เรื่อง ในสังคมประชาธิปไตยเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นถือเป็นพื้นฐานของเสรีภาพประเภทอื่น ๆ ตราบใดที่คนยังไม่มีเสรีภาพในการคิด ในการพูด ในการเขียนเสียแล้ว…

  • กฎหมายรัฐธรรมนูญกับประชาธิปไตยไทย#1

    กฎหมายรัฐธรรมนูญกับประชาธิปไตยไทย โดย พวงทอง ภวัครพันธุ์ คำอภิปรายใน เวทีสาธารณะ ซึ่งจัดโดย Book Re:public ร่วมกับภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อวันที่10 มีนาคม 2555 ณ ห้องประชุมชั้น 2คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมีวิทยากรประกอบไปด้วย รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์,รศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล,รศ.ดร.พวงทอง ภวัครพันธุ์ และมี           ผศ.ดร.ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี เป็นผู้ดำเนินการอภิปราย สวัสดีค่ะ ดิฉันมาในฐานะที่เข้าร่วมกับคณะกรรมการรณรงค์การแก้ไขมาตรา112 (ครก.112) หัวข้อในวันนี้คือรัฐธรรมนูญและประชาธิปไตย แต่ที่อยากจะพูดในวันนี้ ดิฉันอยากพูดในเรื่องกฎหมายกับความยุติธรรม อยากจะเริ่มที่ว่าความยุติธรรมสำคัญอย่างไร แล้วจะโยงไปสู่กระแสของการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 อย่างไร กฎหมายนี้เกี่ยวข้องกับความยุติธรรมอย่างไร หรือทำให้รู้สึกว่ามันไม่มีความยุติรรมในสังคมนี้อย่างไรดิฉันคิดว่ารูปแบบของสังคมในทุกยุคทุกสมัยนั้นเปลี่ยนแปลงไปได้ ซึ่งรวมถึงรูปแบบการปกครองแบบประชาธิปไตยด้วย แต่สิ่งหนึ่งที่จะต้องมีไม่ว่าจะเป็นการปกครองใด ก็คือเนื้อหากฎหมายจะต้องสร้างความรู้สึกให้คนในสังคมรู้สึกว่ามีความยุติธรรมในกฎหมายนั้น ในการสร้างความรู้สึกนั้น ผู้ปกครองอาจทำให้ผู้ถูกปกครองยอมรับในชะตากรรมของตัวเองที่เกิดมาเป็นทาส ไพร่ คนยากจน มองว่ามันเป็นเรื่องบุญทำกรรมแต่ง เป็นเรื่องของวาสนา  ยอมรับในสิ่งที่ตัวเองเป็นอยู่ ถ้าผู้ที่กำหนดกฎหมายขึ้นมาทำให้ผู้คนยอมรับที่จะอยู่ภายใต้กฎหมายนั้นได้ ทำให้เขายอมรับว่ายุติธรรมแล้ว   สิ่งเหล่านี้จะทำให้ผู้ปกครองในสังคมสามารถที่จะรักษาระเบียบและอำนาจของตนไว้ได้ ทำให้สังคมเดินหน้าไปได้ตามที่เขาปรารถนา แต่เมื่อไหร่ก็ตาม ถ้ากฎหมายที่มีอยู่ทำให้คนในสังคมรู้สึกว่ามันเลือกปฏิบัติ และไม่สามารถยอมรับคุณค่าที่มันสั่งสมมาได้ มันก็จะถูกท้าทายมากขึ้น นำไปสู่การเปลี่ยนแปลง ถูกแทนที่ด้วยแนวคิดเรื่องความยุติธรรมใหม่ เพื่อมาแทนที่อันเก่า ดิฉันคิดว่าสิ่งหนึ่งที่ต้องคำนึงถึงก็คือการสร้างให้คนในสังคมยอมรับได้ ถึงระเบียบที่เป็นอยู่ในสังคม  สิ่งที่เราเห็นก็คือว่า ในสังคมไทยในหลายปีที่ผ่านมา อย่างน้อยก็ในภายหลังการรัฐประหาร 2549 เกิดการปะทะของแนวคิดเรื่องประชาธิปไตยและความยุติธรรมสองชุดขึ้นมา แนวคิดเรื่องประชาธิปไตยและความยุติธรรมในสังคมแต่ละยุคสมัยสามารถเปลี่ยนแปลงได้ และยังแตกต่างกันไปตามสังคมและรูปแบบการปกครองที่แตกต่างกัน…

Design a site like this with WordPress.com
Get started