Project Type: Humanร้าย,Human Wrong4 : gallery

  • นิทรรศการ SENSORY OF HUMANITY : Human ร้าย Human Wrong 4 | 2021

    นิทรรศการ SENSORY OF HUMANITY : Human ร้าย Human Wrong 4 | 2021

    ปีนี้ โครงการ Human ร้าย Human Wrong ปีที่ 4 ได้นำเสนอผลงานศิลปะออกมาจำนวน 15 ผลงาน โดยสมาชิกที่เข้าร่วมเวิร์คช็อปในปีนี้ ได้เลือกเอาประเด็นที่ตนเองสนใจมานำเสนอ ในรูปแบบที่แตกต่างออกไป ภายใต้หัวข้อที่เป็นหัวใจสำคัญของการเรียนรู้ในปีนี้ “Sensory of Humanity” การเรียนรู้ความเป็นมนุษย์ผ่านผัสสะการรับรู้ ซึ่งนิทรรศการนี้จัดขึ้นในวันที่ 19 มิถุนายน – 18 กรกฎาคม ที่บริเวณโถงจัดแสดงชั้น 1 ของพิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยใหม่เอี่ยม (MAIIAM comtemporary art museum) Sensory of Humanity คือกรอบวิธีคิดหลักของนิทรรศการว่าด้วยการใช้ ‘ผัสสะ’ (sensory) เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวของชีวิตที่ถูกกดทับ ละเลย พร้อมทั้งชวนตั้งคำถามถึงความบิดเบี้ยวในมุมต่าง ๆ ของสังคมที่ถูกทำให้กลายเป็น‘เรื่องปกติ’ ผ่านผลงานศิลปะโดยสมาชิกโครงการ Human ร้าย Human Wrong รุ่นที่ 4 The Sensory of Humanity exhibition…

  • เบื้องหลังการเตรียมนิทรรศการ Human ร้าย Human Wrong 4

    เบื้องหลังการเตรียมนิทรรศการ Human ร้าย Human Wrong 4

    18 มิถุนายนเป็นกำหนดการเปิดนิทรรศการของพวกเรา ปีนี้เราได้รับการสนับสนุนพื้นที่จัดแสดงงานเป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัย “ใหม่เอี่ยม” อีกครั้ง ทำให้พวกเราทั้งตื่นเต้นและดีใจมากที่ได้นำผลงานทั้ง 15 ชิ้นมาจัดแสดงที่นี่ แม้ว่าจะมีเงื่อนไข หรือข้อจำกัดของสถาณการณ์การแพร่ระบาด Covid-19 ที่ทำให้งานของพวกเราสะดุดไปบ้าง แต่พวกเราใช้เวลาในการเตรียมตัวและผลิตผลงานกันอย่างตั้งใจ รวมทั้งได้รับการช่วยเหลือจากทีมงานของใหม่เอี่ยมที่คอยอำนวยความสะดวก และทีมติดตั้งงานศิลปะที่ให้คำแนะนำ ทั้งระหว่างการผลิตผลงานและการติดตั้งผลงานให้สามารถก้าวข้ามข้อจำกัดต่างๆและทำให้งานสำเร็จลุล่วง

  • workshop 7 : จัดการข้อมูล สรุปความคิด ด้วย mood board workshop

    workshop 7 : จัดการข้อมูล สรุปความคิด ด้วย mood board workshop

    workshop ครั้งที่ 7 เป็นกิจกรรมพิเศษที่ออกแบบขึ้นมาหลังจากที่ สมาชิกทุกคนได้นำเสนอหัวข้อของตนเองและได้รับคำแนะนำ หรือสิ่งที่ต้องศึกษาเพิ่มเติมจาก อ.สรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ และอ.จักรกริช สังขมณี ที่ปรึกษาโครงการทั้งสองคน หลังจากที่ทุกคนไปทำการบ้าน หาข้อมูล ประเมินทักษะและสิ่งที่ตนเองมี เพื่อที่จะนำมาใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานในครั้งนี้ แต่สิ่งที่มีในหัว ทั้งความคิด ข้อมูล ทักษะต่างๆ ทำไมมันกระจัดกระจาย ไม่รู้จะจัดวาง จัดหมวดหมู่สิ่งที่มียังไงดี วันนี้ทีมงาน Human ร้าย Human Wrong เลยเลือกใช้เครื่องมือต่างๆที่จะมาช่วยสรุปความคิด เปิดโอกาสให้เพื่อนๆสมาชิกทุกคนได้ตรวจสอบ และตั้งคำถาม เกี่ยวกับประเด็นต่างๆที่ใช้สื่อสารในโปรเจ็คผลงานของสมาชิกแต่ละคน รวมทั้งการเรียนรู้เครื่องมือ Mood Board หนึ่งในเครื่องมือที่ช่วยทำให้เราจัดการข้อมูล ความคิด ให้เป็นเป็น’ภาพ’ ออกมาอย่างเป็นระบบ และสามารถนำไปใช้วางแผนการทำงานให้ง่ายขึ้นในครั้งต่อไป

  • นำเสนอ Project ของสมาชิก Human ร้าย 3

    นำเสนอ Project ของสมาชิก Human ร้าย 3

    หลังจากที่สมาชิก Human ร้าย Human Wrong ปีที่ 4 ได้ร่วมทำเวิร์คช็อปเสริมสร้างองค์ความรู้ และพัฒนาทักษะการจัดการความคิดและการสื่อสารไปแล้ว มาถึงขั้นตอนสำคัญที่สมาชิกทุกคนนั้นจะต้องนำเอาองค์ความรู้ ความสนใจ และสิ่งที่ได้ค้นพบจากการใช้ผัสสะต่างๆ รับรู้เรื่องราว ปรากฎการณ์ของสังคมรอบตัว นำมาสร้างสรรค์เป็นผลงานของตนเอง ความน่าสนใจของการนำเสนอหัวข้อในครั้งนี้ ทุกคนได้นำเอาทักษะที่แต่ละคนถนัด ซึ่งมีความแตกต่าง หลากหลาย เช่น ความถนัดด้านศิลปะ การออกแบบ , ความถนัดด้านการเก็บข้อมูล การสืบหาข้อมูลผ่านการสำรวจ และลงพื้นที่ , ความถนัดด้านการถ่ายภาพ เป็นต้น แม้ว่าการนำเสนอครั้งแรกจะมีปัญหา และความสับสนของประเด็น คำถามหรือข้อเสนอที่อยู่ในโปรเจ็คของแต่ละคน แต่ก็ได้ อ.สรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ และ อ.จักรกริช สังขมณี ที่มาช่วยตั้งคำถาม เสริมข้อมูล และแนะนำสิ่งที่ต้องไปศึกษาเพิ่มเติมเพื่อให้ประเด็นนั้นแหลมคมมากขึ้น รวมทั้งเรายังมีแขกพิเศษอย่าง อ.ถนอม ชาภักดี ที่แวะมาให้กำลังใจและคำแนะนำกับสมาชิก Human ร้าย ในปีนี้

  • workshop 6 : แล้วเราจะเข้าใจศิลปะได้อย่างไร

    workshop 6 : แล้วเราจะเข้าใจศิลปะได้อย่างไร

    workshop ครั้งที่ 6 (กิจกรรมเสริมทักษะ ออกแบบการเรียนรู้ด้วยตัวเอง) กิจกรรมครั้งนี้เกิดขึ้นจากการลงความคิดสิ่งที่พวกเราสมาชิก Human ร้าย ต้องการเรียนรู้เพิ่มเติม โดยเริ่มจากคำถามที่ทุกคนต่างสงสัยว่า “เราจะเข้าใจงานศิลปะได้อย่างไร” ในเวลานี้ งานศิลปะยุคใหม่เป็นสิ่งที่ไม่เคยตัดขาดจากผู้คนและบริบททางสังคม ศิลปะจึงเป็นการเมือง ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นลอยๆ ไม่ใช่นามธรรมไร้เหตุผลเข้าใจยาก เราจึงชวนสมาชิก Humanร้าย ปรับมุมมอง ชวนอ่าน ชวนคุย ชวนดูงานศิลปะ เพราะเราเชื่อว่าศิลปะสัมพันธ์กับการใช้ตรรกะ เหตุผล และการวิเคราะห์ตีความของผู้คนที่มากกว่าศิลปินควบคุมเพียงคนเดียว  งานศิลปะจึงเป็นสิ่งที่สื่อสารกับสังคมตลอดเวลา เมื่อถูกจัดแสดงในพื้นที่สาธารณะ งานชิ้นนั้นต้องกลายเป็นสิ่งที่สื่อสารด้วยการรับรู้ผ่านทางผัสสะต่างๆ ของผู้ชม ศิลปินไม่ใช่ผู้ที่มีสิทธิอยู่เหนือกว่าผู้ชมงาน แต่คือการเรียนรู้พฤติกรรมการตีความ การออกแบบเนื้อหารให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการสื่อสาร และสร้างพื้นที่ความเป็นไปได้ใหม่ในการสื่อสารเนื้อหาที่อยู่ในงานศิลปะให้มีความน่าสนใจ ซึ่งวันนี้เราได้แลกเปลี่ยนคำถาม และคำตอบที่ไม่มีถูกผิดในฐานะที่เป็นทั้งผู้ดูศิลปะ และผู้ผลิตศิลปะต้องสื่อสารแบบไหนจึงจะทำให้สารนั้นมีประสิทธิภาพในการเชื่อมโยงกับผู้รับสารมากที่สุด

  • Workshop 5 : ออกแบบการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ทักษะการถ่ายทำ ตัดต่อวิดีโอเบื้องต้น + ทักษะการเขียน

    Workshop 5 : ออกแบบการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ทักษะการถ่ายทำ ตัดต่อวิดีโอเบื้องต้น + ทักษะการเขียน

    workshop ครั้งที่ 5 (กิจกรรมเสริมทักษะ ออกแบบการเรียนรู้ด้วยตัวเอง) “พวกเราอยากให้เพื่อนๆ สอนทักษะ หรือแลกเปลี่ยนความรู้อะไรกันบ้าง” หลังจากจบ workshop เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา พวกเราได้สอบถามเพื่อนๆสมาชิกกันว่าอยากเรียนรู้ทักษะอะไรเพิ่มเติม จนได้คำตอบร่วมกันว่า พวกเราอยากเรียนรู้ทักษะการตัดต่อวิดีโอเบื้องต้น และ ทักษะการเขียนบทความ ซึ่งวิทยากรไม่ใช่ใครที่ไหนไกล นั่นก็คือเพื่อนๆสมาชิกรุ่นที่ 4 ด้วยกันเองนี่แหละที่มาถ่ายทอดองค์ความรู้ให้เพื่อนๆ โดยการจัด workshop เล็กๆขึ้นมา นำโดยฟลุ๊คกี๋ และพิม สำหรับ workshop การตัดต่อวิดีโอในช่วงเช้า และช่วงบ่าย เป็น workshop การเขียนบทความโดย สมา แตงกวา และ อัพ ทั้งสองทีมออกแบบกิจกรรมได้อย่างสนุกสนาน รวมถึงได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และองค์ความรู้ร่วมกันในวง workshop เล็กๆในวันพุธผ่านมานี้

  • workshop 4 : ฝึกคิดเชิงวิพากษ์กับ เครื่องมือ problem tree

    workshop 4 : ฝึกคิดเชิงวิพากษ์กับ เครื่องมือ problem tree

    นอกจากการหาแรงบันดาลใจ ผ่านการสำรวจเรียนรู้คนรอบข้างด้วยการใช้ “ผัสสะ” ที่เป็นหนึ่งในเครื่องมือการรับสาร “คิดเชิงวิพากษ์” โดยทีม “คิด space” ได้นำเอาเครื่องมือที่เรียกว่า “problem tree” เป็นกระบวนการฝึกคิดวิเคราะห์ปัญหา องค์ประกอบที่ทำให้เกิดปัญหา ผลกระทบ และหนทางการแก้ปัญหา  ซึ่งเป็นอีกหนึ่งทักษะที่สำคัญในโลกยุคปัจจุบัน ทำให้พวกเราได้ลองคิด ลองตั้งคำถาม และหาคำตอบ จากประเด็นปัญหาที่เราพบเจอและเป็นเรื่องใกล้ตัว หยิบยกเรื่องง่ายๆ มาลองวิเคราะห์หาที่มาที่ไปของปัญหา ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาหมาแมวจรจัดในมหาลัย, ปัญหานักศึกษาจบใหม่, ปัญหาหมอกควันในเชียงใหม่, ปัญหาขนส่งสาธารณะในเชียงใหม่

  • workshop 3  : มองประวัติศาสตร์การต่อสู้ทางการเมืองผ่านงานออกแบบ และงานศิลปะ pop culture

    workshop 3 : มองประวัติศาสตร์การต่อสู้ทางการเมืองผ่านงานออกแบบ และงานศิลปะ pop culture

    workshop ครั้งที่ 3 มาพร้อมกับคำถาม ทั้งจากวิทยากรที่โยนคำถาม สลับไปมากับเหล่าสมาชิกให้ได้ฝึกคิด ทำไมเราต้องใช้ศิลปะในการสื่อสาร ? สิ่งที่แสดงออกในม็อบเป็นศิลปะหรือไม่? ทำไมงานศิลปะบางชิ้นถึงเป็นที่จดจำในเวลาชั่วข้ามคืน? พวกเราชาว Human ร้าย เปิดห้องเรียนในวันนี้ด้วยคำถามในประเด็นศิลปะและบรรยากาศม็อบการเมืองอันเผ็ดร้อนในช่วงที่ผ่านมาไปกับวิทยากรผู้เป็นทั้งผู้เฝ้าสังเกตการณ์และผู้ผลิตผลงานศิลปะในการแสดงออกทางการเมือง “คุณ วีร์ วีรพร” ที่ชวนพวกเรา ชาว Human ร้าย มาสำรวจเส้นทางประวัติศาสตร์การต่อสู้ทางการเมืองผ่านงานออกแบบ และงานศิลปะ pop culture ที่มาพร้อมกันความสนุกสนาน อารมณ์ขัน และเทคนิคทั้งร้ายทั้งเฉียบในการวิพากษ์ปัญหาสังคม บรรยากาศการเรียนรู้ในครั้งนี้รับส่งกันด้วยคำถามและคำตอบอย่างสนุกสนาน แรงไม่มีตก รวมถึงทำให้พวกเราได้เห็นแง่มุมความเป็นไปได้ใหม่ๆ ของการใช้เครื่องมือทางศิลปะมาสื่อสารในประเด็นการเมือง

  • Workshop 2 : ผัสสะการรับรู้ทางสายตา

    Workshop 2 : ผัสสะการรับรู้ทางสายตา

    เวิร์คช็อปครั้งนี้ สมาชิก  Human ร้าย 4 ได้ลงพื้นที่ยาวนานตลอดสองวันเต็ม เพื่อที่จะฝึกผัสสะทางสายตาและกระบวนการฝึกคิดหามุมมองในการสื่อสารผ่านภาพถ่าย โดย คุณธีรพงษ์ สีทาโส  หนึ่งในสมาชิกช่างภาพจากกลุ่ม Realframe ร่วมกับ อ.ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ​ ที่มาช่วยเสริมเนื้อหา และชี้ให้เห็นประเด็นข้อค้นพบจากการถ่ายภาพทางมานุษยวิทยา และการตั้งคำถามต่อความจริงที่ถูกนำเสนอบนงานศิลปะภาพถ่าย กิจกรรมเริ่มต้นของพวกเรา ไม่ใช่การเรียนรู้เทคนิกการใช้กล้อง แต่คือการสลับสับเปลี่ยนกันตั้งคำถาม กับกระบวนการการถ่ายภาพผู้คน คำถามแรกที่เราเริ่มต้นก่อนเรียนรู้การจับกล้องและเดินสำรวจ คือใกล้แค่ไหนถึงเรียกว่าใกล้ ในมิติของงานภาพถ่ายมานุษยวิทยา การเข้าใกล้ผู้คน การจัดการภาพในเฟรม มันจะเผยความจริงของสายตาผู้บันทึกภาพ และผู้ที่อยู่ในภาพได้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งคำถามที่เกิดขึ้นกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้ และทดลอง ฝึกฝนการหา งานนี้พวกเราชาว Human ร้าย ได้มีโอกาสลงพื้นที่บริเวรชุมชนหัวฝายอีกครั้ง เป็นสนามทดลอง, ลองผิด ลองถูก ลองสัมผัส พร้อมกับโจทย์ที่ท่าท้ายการหามุมมองในการเล่าเรื่องจากข้อสังเกตเล็กๆในชุมชน สู่การตั้งคำถาม วิพากษ์ในประเด็นใหญ่ที่เกิดขึ้นในสังคมผ่านกระบวนการสร้างภาพชุดเล่าเรื่องในตอนท้ายของกิจกรรม

  • Workshop 1 : เรียนรู้ความหลากหลายของความเป็นมนุษย์ผ่านผัสสะการรับรู้

    Workshop 1 : เรียนรู้ความหลากหลายของความเป็นมนุษย์ผ่านผัสสะการรับรู้

    workshop ครั้งที่ 1   Human ร้าย Human Wrong 4 ปีนี้เราได้พบกับสมาชิกในปีนี้มีทักษะความสามารถ และสถาบันการศึกษา เช่น สถาปัตยกรรม มนุษย์ศาสตร์ การสื่อสารมวลชน ครั้งแรกในวันที่ 16 – 18 พฤศจิกายน 2020 กับกิจกรรมปฐมนิเทศ เป็นเวลา 2 วัน 2 คืนเต็มสำหรับการปูพื้นฐาน เรียนรู้ความหลากหลาย ประเด็นสิทธิมนุษยชนในชีวิตประจำวัน ฝึกให้ทุกคนได้คิดในมุมสื่อสารผ่านวิธีคิดของกระบวนการทำงานศิลปะร่วมสมัย สลับสับเปลี่ยนไปกับกิจกรรมทำความรู้จักเพื่อนใหม่ กับตีมการเรียนรู้ครั้งใหม่ ในปี 2020 “เรียนรู้ความหลากหลายของความเป็นมนุษย์ผ่านผัสสะการรับรู้”  กิจกรรมแรก ปูพื้นฐานผ่านแนวคิดเรื่อง “มนุษย์วิทยา , ผัสสะ , และการศึกษาสังคม” ทำไมเราต้องใช้ผัสสะในการเข้าใจมนุษย์สู่การทำความเข้าใจประสบการณ์การรับรู้โดยใช้ผัสสะใหม่ ที่แตกต่างไปตามวัฒนธรรมและบริบทของสังคม กับ อ. ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี กิจกรรมที่ 2 ความรู้เกี่ยวกับหลักสิทธิมนุษยชนในระดับชีวิตประจำวัน ซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่ทั้งง่าย และสามารถนำไปใช้ได้จริง โดย  อ.เบญจรัตน์ แซ่ฉั่ว…

Design a site like this with WordPress.com
Get started